การพบผู้ติดเชื้อ" สายพันธุ์ฝีดาษวานร (Monkeypox)"หรือ ฝีดาษลิง นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวว่า ขณะนี้สายพันธุ์ที่พบทั่วโลกและประเทศไทย ยังคงเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก คือ B.1 กับ A.2 โดยข้อมูลที่มีรายงานประมาณ 30,000 ราย พบเป็น B.1 เป็นส่วนใหญ่ ส่วนประเทศไทยเพิ่งพบ 4 คน พบ A.2 มากกว่าโดย B.1 มี 1 คน แบ่งเป็น
-ชายไนจีเรียที่พบรายแรก เป็นสายพันธุ์ A.2
-รายที่ 2 ชายไทยอายุ 47 ปี เป็น B.1
-รายที่ 3 เป็นชายเยอรมนี เป็นสายพันธุ์ A2 และ
-รายที่ 4 รายล่าสุดเป็นหญิงไทยพบสายพันธุ์ A.2 ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ที่ไม่รุนแรง ไม่ใช่สายพันธุ์คองโก
ส่วนกรณีมีชาวชาวฝรั่งเศส 1 ราย ที่จ.ตราด มีข้อสงสัยเพราะเคยมีไข้ เมื่อประมาณ 1 เดือน มีแผล และส่งตัวอย่างมาตรวจเบื้องต้นสิ่งส่งตรวจจากคอ จากเลือด ผลเป็นลบทั้งหมด ขณะนี้ อยู่ระหว่างเก็บตัวอย่างตรวจเพิ่มเติม ซึ่งรายนี้จะเป็นหรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะตัวอย่างส่งให้กรมวิทย์ค่อนข้างช้า แต่พื้นที่ได้ไปสอบสวนโรคเพิ่มเติม ขอย้ำว่าทั้ง 4 รายที่ป่วย มีวิธีการติดเชื้อชัดเจน คือ นัวเนีย ใกล้ชิดมาก ไม่ใช่กินข้าวแล้วติด ดังนั้น หากไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงก็อย่าวิตกกังวลมากนัก
ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์ฯ สามารถเพาะเชื้อฝีดาษลิงได้แล้ว ได้จำนวนไวรัสปริมาณมากพอสมควร สามารถเริ่มกระบวนการต่อไปได้เลย คือ เริ่มทดสอบคนที่เคยปลูกฝีดาษมาแล้ว โดยจะเอาเลือดมาทดสอบกับเชื้อฝีดาษลิงว่าจะคุ้มกันได้แค่ไหน ที่บอกว่าป้องกันได้ 85 % นั้น เป็นจริงหรือไม่ กำลังเปิดรับอาสาสมัคร 3 กลุ่ม คือ อายุ 40 ปี 50 ปี และ 60 ปี ขึ้นไป จำนวนกลุ่มละ 10 คน รวมทั้งหมดประมาณ 30-40 คน คาดว่าจะใช้เวลา 1 สัปดาห์จะทราบผล
ส่วนเรื่องการตรวจหาเชื้อปัจจุบัน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่งตรวจได้แล้ว และแล็บหลายแห่งในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวเยอะ สามารถยื่นข้อมูลให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบมาตรฐานห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2+ อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าหากไม่ไม่พฤติกรรมเสี่ยง หรือมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดคนติดเชื้อก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจ เพราะไม่มีความจำเป็น และการตรวจยังคงมีราคาแพง ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกันเพื่อหาต้นทุนที่แท้จริง เพื่อจะได้ปรับลดค่าตรวจให้ถูกลง
#ฝีดาษลิง