Center for Medical Genomics ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้ว 1 รายในประเทศไทยที่จังหวัดตรัง
-ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565
-กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและ Upload ขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565
-มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 90 ตำแหน่ง
เมื่อนำรหัสพันธุกรรมของผู้ติดเชื้อรายนี้จาก จ.ตรัง ไปวิเคราะห์ร่วมกับรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 จากทั่วโลกจำนวน 12 ล้านตัวอย่างจากฐานข้อมูล GISAID พบว่าเป็นสายพันธุ์ BA.2.75
-สายพันธุ์ BA.2.75 พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2565 มีการระบาดไม่ยาวนาน ขณะนี้ใกล้จะสงบลงแล้ว อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอินเดีย เกิดการระบาดจากสายพันธุ์ BA.2 มาก่อน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น อาจทำให้การระบาดของ BA.2.75 ซึ่งกลายพันธุ์มาจาก BA.2 ไม่ขยายวงกว้าง ส่วนสายพันธุ์ BA.2.75 แพร่ระบาดไปทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างถอดรหัสพันธุกรรมได้ 338 ราย
-ถามว่า BA.2.75 หลบภูมิเก่ง ดื้อวัคซีน ดื้อยา หรือไม่? BA.2.75 กลายพันธุ์ไปถึง 100 ตำแหน่ง คาดว่าจะหลบภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ก่อนได้ดี และดื้อต่อวัคซีนที่เตรียมจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิม และควรเลือกใช้ยาแอนติบอดีสังเคราะห์ (monoclonal antibody) ให้สอดคล้องกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยติดเชื้ออยู่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลยาแอนติบอดีสังเคราะห์
-ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)อนุมัติการใช้ยาแอนติบอดีแบบผสมรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ
-ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะมีอาการรุนแรง ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
-เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ไวรัสอ่อนกำลังลง และยับยั้งการติดเชื้อภายในร่างกายผู้ป่วยลงได้
-ผลการวิจัย พบว่า ช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ป่วย ลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ต้องให้เร็วตั้งแต่ระยะแรกในการป่วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ : https://shorturl.asia/dRKuL
ก่อนหน้านี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงว่า สายพันธุ์ BA.2.75 ที่พบในอินเดีย สหรัฐฯ และอังกฤษ เป็นสายพันธุ์น่ากังวลหรือไม่ว่า BA.2.75 หากมีปัญหามาก องค์การอนามัยโลก จะจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตาดู หรือ VOC-LUM แต่ตอนนี้ยังไม่จัด กรมวิทย์ฯมีการเฝ้าระวังตลอด
อ่านรายละเอียดที่นี่: https://www.hfocus.org/content/2022/07/25432
#โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย
CR:Center for Medical Genomics,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,กระทรวงสาธารณสุข