นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ติดตามการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังวันหยุดยาว โดยเฉพาะในต่างจังหวัด และ เด็กๆ เปิดเรียนอีกครั้ง พบว่า ผู้ติดเชื้ออยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ๆ อัตราการครองเตียงตึงตัวมากขึ้น จากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เตียงใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยโรคทั่วไป แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง สามารถปรับได้
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบกำลังรักษาในโรงพยาบาล ระลอกมกราคม 2565 วันที่ 11-17 ก.ค.65
-นนทบุรี ครองเตียงระดับ2-3 มากที่สุด 49.70%
-กรุงเทพมหานคร ครองเตียง 47.30%
-ปทุมธานี ครองเตียง 36.50%
แม้ว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่ได้สูงขึ้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญและขอเน้นย้ำช่วยกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อด้วยมาตรการ 2 U
- Universal Prevention สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง
-Universal Vaccination ทุกกลุ่มอายุเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น
ในช่วงนี้ จะเห็นได้ว่า เรามีการทำกิจกรรมกันมากขึ้น อัตราการติดเชื้อเพิ่ม ขอให้ปฎิบัติมาตรการดังกล่าวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขออย่านิ่งนอนใจ ให้ตรวจATK สม่ำเสมอ เมื่อมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีน้ำมูก ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น และในช่วงบ่ายนี้จะหารือกับกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมด้วย
อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ จากเส้นการคาดการณ์ กราฟยังอยู่ที่เส้นสีเขียว ประกอบกับ โอไมครอนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ไม่รุนแรงเท่าเดลตา แต่ก็ไม่ควรประมาท ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อย่าทิ้งห่างจากเข็มสุดท้ายนานเกิน 3-4 เดือน ภูมิลดลง อัตราการเสียชีวิต พบว่า ผู้เสียชีวิตยังคงเป็นกลุ่ม 608 มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไต และ ผู้ป่วยติดเตียง
ภาพรวมการติดเชื้อโควิด-19 โลก เพิ่มขึ้นแถบยุโรป สหรัฐฯ แนวโน้มทรงตัว อีกสถานการณ์ที่เรากำลังติดตามดู คือการติดเชื้อในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ติดเพิ่ม แต่เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้น
#โควิดเพิ่มขึ้น
แฟ้มภาพ