ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Whole SARS-CoV-2 genome sequencing) และจีโนไทป์ (MassARRAY Genotyping) มาตลอด 2 ปี เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อประเมินประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับเปลี่ยน “ยาต้านไวรัส” และ “แอนติบอดีสังเคราะห์(monoclonal antibody)” เพื่อการรักษาอย่างจำเพาะ (precision medicine) ให้สอดคล้องกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยกำลังติดเชื้อ
จากการถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจากโรงพยาบาลต่างๆในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย
BA.1 ร้อยละ 2.2
BA.2* ร้อยละ 13
BA.4* ร้อยละ 54.3
BA.5* ร้อยละ 26.1
BA.2.12.1 ร้อยละ 4.3
ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75
โอไมครอน BA.4 และ BA.5 พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนมกราคม 2565 จากนั้นได้มีแพร่ระบาดไปทั่วโลก
สัดส่วนการแพร่ระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน
-ประเทศแอฟริกาใต้ พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
-ประเทศโปรตุเกส พบ BA.5>BA.4 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
-ประเทศสหราชอาณาจักร พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 2.3 ต่อ 1
-ประเทศสหรัฐอเมริกา พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1
*ประเทศไทย พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4.4 ต่อ 1
จากกราฟที่ 1-5 จะสังเกตได้ว่าแต่ละประเทศยอดกราฟหรือพีกของจำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4/BA.5 และ BA.2.12.1 จะต่ำกว่าพีกผู้ติดเชื้อ BA.1/BA.2 ต่างจากประเทศไทย ที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4 ขณะนี้มีพีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2 ที่ระบาดผ่านมาในอดีต
BA.4 ที่ระบาดในประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 157% เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน (BA.5)
BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 7 ตำแหน่ง
BA.5 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.4 จำนวน 1 ตำแหน่ง
บริเวณหนาม BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 1 ตำแหน่ง
ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกของ BA.4 และ BA.5 จากทั่วโลกมากพอที่จะสรุปว่าโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อยมีความรุนแรงในการก่อโรค หรือมี “severity” (เข้ารักษาตัวใน รพ. หรือ เสียชีวิต) ต่างกันหรือไม่
#ศูนย์จีโนม
#โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย
CR:Center for Medical Genomics