การเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในรอบสัปดาห์ที่แล้ว จากการตรวจกว่า 500 ราย พบสายพันธุ์ BA.1 จำนวน 5 คน สายพันธุ์ BA.2 จำนวน 283 คน และสายพันธุ์ BA.4/BA.5 จำนวน 280 คน โดยพื้นที่ กทม.จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงกว่าภูมิภาคซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยในช่วง 4 สัปดาห์ที่แล้ว สัดส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4/BA.5 เริ่มจาก 12% เป็น 50% เป็น 68% และ 72% ส่วนภูมิภาคเริ่มขึ้นจาก 6% เป็น 17% เป็น 34%
สำหรับอาการผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ในประเทศไทย พบว่า อาจจะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิต มากกว่าสายพันธุ์ BA.2 แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนจะมีการเก็บตัวอย่างจากคนที่ปอดอักเสบ คนที่ใส่ท่อ และเสียชีวิตมาตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีความคืบหน้า
นพ.ศุภกิจ ย้ำว่า มาตรการส่วนบุคคลยังมีความจำเป็น เพราะหากมีผลยืนยันว่าแพร่เร็วขึ้นและรุนแรงขึ้นจะทำให้มีผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราช่วยกันหยุดแพร่กระจายได้ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลง เพราะเราไม่ต้องการจะออกมาตรการอะไรที่กระทบการดำเนินชีวิตประจำวัน
ส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศมีทิศทางทรงตัว เพราะมีสัดส่วนสูงราว 77-78% อยู่แล้ว
สถานการณ์แพร่ระบาดในต่างประเทศ นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า องค์การอนามัยโลกได้ติดตามข้อมูลเป็นสัปดาห์ๆ พบว่า BA.5 เพิ่มขึ้นจากที่เคยตรวจ 37% ใน 83 ประเทศ เป็น 52% ส่วน BA.4 จาก 11% เป็น12% หมายความว่า หาก BA.4 และ BA.5 อาจแพร่เร็วไม่เท่ากัน แต่ BA.5 เร็วขึ้นแน่ๆ แต่ BA.4 ยังทรงๆ ส่วน BA.1 และ BA.2 กลับลดลง ถูกเบียดไป ทั้งนี้ มีการตามประเด็นว่า แพร่เร็วแค่ไหน รุนแรงหรือไม่ หลบภูมิคุ้มกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งเรื่องความรุนแรง องค์การอนามัยไม่ได้ให้น้ำหนักมาก บอกเพียงว่า ความรุนแรงไม่ได้แตกต่างมากนัก แต่การแพร่เร็ว พบว่า เร็วกว่าแน่ ส่วนมีผลต่อการหลบภูมิคุ้มกันหรือไม่ ก็พบว่า ลดลง ขณะที่อังกฤษ พบว่า มีการแพร่เร็วสูงกว่าเดิม ส่วนความรุนแรงจัดว่าอยู่ในระดับสีเหลือง เพราะข้อมูลยังน้อย ขณะที่หลบภูมิฯ คิดเช่นนั้น เพียงแต่ข้อมูลยังไม่เยอะมาก ซึ่งก็คล้ายประเทศไทย ต้องติดตามต่อไป
สำหรับงานวิจัยญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อมูลห้องทดลองพบว่า การกลายพันธุ์มีผลต่อการเพิ่มจำนวนไวรัส และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจาก BA.1 และ BA. 2 คือ ใครที่ติดเชื้อมาก่อน ติดซ้ำ BA.4/BA.5 ได้ ในเซลล์ปอดมนุษย์พบว่า แพร่ได้เร็วกว่า BA.2 และในหนูแฮมสเตอร์พบว่า กลุ่มติดเชื้อ BA.4/BA.5 มีอาการหนักกว่า BA.2 อันนี้คือข้อมูลเอกสารวิจัยรอตีพิมพ์ของญี่ปุ่น
ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมดมีแนวโน้ม BA.4/BA.5 มากขึ้น แต่ชุกชุมในกรุงเทพมหานคร ส่วนความรุนแรงมีแนวโน้มว่า พบมากใน BA.4/BA.5 แต่ตัวเลขยังน้อยอยู่
มีรายงานว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด
#โควิด19