ผลพิสูจน์หลักฐาน “ผ้าสีขาว คดีแตงโม” โดยว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ตรวจสอบ 6 ประเด็น จากการส่งหลักฐานให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมธรณีวิทยา พบว่า คราบเลือดตรงกับพันธุกรรมของชาติพันธุ์ยูโรเลียนอินเดี้ยน ยืนยันว่า เป็นคราบเลือด แต่ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่ใช่ของแตงโม ผ้าดังกล่าวไม่ใช่ผืนเดียวกับแตงโม ร่องรอยถูกกรีด ไม่ปรากฏ เส้นผมที่พบยืนยันว่าเป็นของผู้ชาย ชาติพันธุ์ยูโรเลียนอินเดี้ยน ดิน ไม่ใช่ดินทรายที่ตรงกับในแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่พบรอยขาดที่ผ้าเหมือนในผ้าของแตงโม โดยพบว่า ภาพแรกที่ถ่ายไม่มีสีขุ่นมัว แต่เมื่อเปิดออกมา มีความขุ่นเหมือนแช่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น การกระทำของกลุ่มคนดังกล่าว ทำให้เกิดความเสียหาย การสืบสวนมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจำนวนมาก ใครส่งอะไรมา ต้องพิจารณาว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ถ้าทำหลักฐานเท็จขึ้นมา ยืนยันว่า จะไม่ปล่อย จะดำเนินคดีทุกราย เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนคดี กรรมาธิการ ก็ถือเป็นผู้เสียหาย ควรไปร้องทุกข์กับผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายด้วย
พ.ต.ท.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ โฆษกดีเอสไอ กล่าวว่า ดีเอสไอ ได้ตรวจสอบหลักฐานทุกอย่าง ไม่ใช่ข้อคิดเห็น แต่มีบุคคลบางกลุ่ม ที่พยายามสร้างพยานหลักฐานขึ้น เช่นกรณีนี้ ผ้าถูกส่งมาจากต่างประเทศ เมื่อตรวจสอบชื่อผู้รับ ก็พบว่าไม่มีในทะเบียนราษฎร์ เปิดห่อผ้ามา พบว่า ใกล้เคียงกันกับของคุณแตงโม แต่มีสิ่งปะปน พบว่า พยายามสร้างคราบเลือดและรอยดินโคลน สำหรับกลุ่มบุคคลที่พยายามเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงมีความผิดตามกฎหมายอยู่ ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสได้ แต่ต้องมีที่มาที่ไป ไม่ใช่หลักฐานเลื่อนลอย
สอดคล้องกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบคราบเลือด พบจงใจทำให้เกิดการกระจายตัวของคราบเลือด ไม่ได้เกิดขึ้นจากบาดแผล พยานหลักฐานถ้าไม่ได้เกิดขึ้นจริง วิทยาศาสตร์อธิบายได้ทุกอย่าง
พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยว่า สิ่งที่ร้อง จะเป็นเรื่องที่ดิสเครดิตเจ้าพนักงานสอบสวน ประเด็นลักษณะดังกล่าว จะทำให้การสอบสวนเกิดปัญหา เพราะไม่มีหลักฐานมายืนยัน โดยเฉพาะการมาร้องทุกข์บุคคลว่าเป็นคนฆาตกรรม ถือเป็นการหมิ่นประมาท กล่าวหาให้รับความเสียหาย สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายได้
#คดีแตงโม