นายแยล เซลฟิน หัวหน้าเศรษฐศาสตร์จากบริษัท KPMG UK ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ราคาอาหารที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 9.1 เพิ่มจากร้อยละ 9.0 ในเดือนเมษายน สูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับแต่ปี 2525 อีกทั้งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(กลุ่มจี-7) ระบุว่า เรื่องค่าครองชีพแพงเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วน ซึ่งจะกดดันให้คณะผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลอังกฤษ เร่งหาทางแก้ไข เพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน
ด้านนายริชี ซูแนค รัฐมนตรีคลังของอังกฤษ กล่าวว่า รัฐบาลจะผลักดันมาตรการต่างๆที่ทำได้ เพื่อลดค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยเฉพาะราคาอาหารและสินค้าประเภทไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงร้อยละ 8.7 ในเดือนพฤษภาคม นับว่าสูงสุดนับแต่เดือนมีนาคม 2552 อีกทั้งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการขึ้นราคา ทำให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษพุ่งสูงในเดือนที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางของอังกฤษ ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษขยับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษอาจจะมีแนวโน้มสูงเกินร้อยละ 9 ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษจะแตะร้อยละ 11 ในเดือนตุลาคมนี้
เมื่อเทียบอัตราเงินเฟ้อของประเทศอื่นๆในกลุ่มจี-7 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในเดือนที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศส เยอรมนีและอิตาลีอยู่ที่ร้อยละ 5.2, ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 6.9 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาและญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
#อังกฤษ
#อัตราเงินเฟ้อ