กระทรวงแรงงาน เพิ่มการตรวจสอบสื่อโซเชียล ป้องกันหลอกลวง-ค้ามนุษย์

19 มิถุนายน 2565, 08:36น.


          กรณีที่มีผู้เสียหายชาวไทยใช้เฟซบุ๊กขอความช่วยเหลือ โดยระบุว่ามีกลุ่มคนไทยมากกว่า 30 คนถูกหลอกลวงไปทำงานและบังคับใช้แรงงานในประเทศกัมพูชา นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบให้กรมการจัดหางานเร่งประชาสัมพันธ์ให้คนหางานทราบถึงอันตรายและวิธีการที่สาย-นายหน้าเถื่อนใช้หลอกลวง โดยในระยะหลังพบพฤติการณ์หลอกลวงคนหางานด้วยการประกาศชักชวนไปทำงานในคาสิโนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แลกกับค่าตอบแทนที่สูง จากนั้นจะมีนายหน้าติดต่อผ่านทางแอปพลิเคชัน WeChat (วีแชต) เมื่อตกลงเรื่องการจ้างงานและนัดหมายเรื่องการเดินทางข้ามชายแดนแล้ว จะพาลักลอบเดินทางข้ามพรมแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเดินทางเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย แล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย เช่น การหลอกลวงคนไทยด้วยกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์อีกต่อ หรือหลอกชักชวนให้คนไทยลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หากไม่ยินยอมอาจถูกขายต่อเป็นทอดๆ ให้กับนายจ้างรายอื่น หรือถูกกักขังและทำร้ายร่างกาย และหากต้องการกลับประเทศไทยจะต้องจ่ายค่าไถ่ เป็นเงินร่วมแสนบาท 



         นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานมอบหมายกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน จับตาสื่อโซเชียลมีเดีย หากพบผู้มีพฤติการณ์โฆษณาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน หรือหลอกลวงว่าสามารถหางาน และได้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงให้เร่งขยายผล หากพบมีความผิดให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ จะประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนหางานในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ทันเล่ห์กลของนายหน้าเถื่อน สามารถช่วยสอดส่องผู้มีพฤติการณ์น่าสงสัยที่เข้ามาหลอกลวงคนในชุมชน และแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่ได้



          กรมการจัดหางานมีศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน ทำหน้าที่ตรวจสอบ ป้องปราม และปราบปรามการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการดำเนินคดีสาย/นายหน้าเถื่อนแล้ว 88 ราย พบการหลอกลวงคนหางานทั้งสิ้น 115 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย จำนวน 10,730,600 บาท



          ...



#กระทรวงแรงงาน



#ค้ามนุษย์

ข่าวทั้งหมด

X