ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลง 40.2 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ขณะเดียวกันยังพบว่า ดัชนีภาระค่าครองชีพอยู่ที่ระดับ 6.1 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 17 ปี 1 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 และเป็นขาลง รวมไปถึงดัชนีความเชื่อมั่นในการหางานทำ เศรษฐกิจมีการปรับตัวลงทุกรายการ ซึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน และไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน การท่องเที่ยวจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจ ประกอบกับการปรับตัวของน้ำมันดีเซลในเดือนมิถุนายนนี้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล การตรึงราคาน้ำมันในไตรมาส 3 การผ่อนคลายการเปิดประเทศให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การกระจายกิจกรรมร้านธงฟ้าไปในกลุ่ม พื้นที่ผู้ที่มีรายได้น้อย การพิจารณาดูแลค่าไฟฟ้า (FT) โดยหน่วยงานที่ดุแล ประชาชนอยู่ได้
นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำในไตรมาส 3 ซึ่งไตรภาคีแต่ละจังหวัดจะมีการหารือกัน โดยเห็นว่าการปรับนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะเป็นแรงกดดันต่อราคาสินค้า การผลิต รวมไปถึงทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ย ครั้งหน้า ของ กนง. เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ พร้อมกันนี้ หอการค้าไทยเตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย ขณะนี้ยังมองอยู่ในกรอบ 2.5-3.5%
ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตอย่างมาก เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนยังคงกังวลในวิกฤต COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะคลายตัวลงก็ตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง
#เศรษฐกิจ
#ค่าครองชีพ
CR:UTCC NEWS