สถานการณ์ฝีดาษวานรในประเทศไทยแม้จะไม่รุนแรง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งมีการพิจารณากรณีโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิงว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่56และกำหนดชื่อและอาการสำคัญ โดยให้ชื่อทางการว่า ฝีดาษวานร เพื่อระลึกถึงคุโณปการศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อนี้นานแล้ว ก่อนจะมีการระบาดมาหลายปี โดยให้มีการประกาศอาการสำคัญ คือ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ผื่น มีตุ่มบริเวณผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่ม หรือตุ่มหนอง หรือตุ่มแผล อาจเกิดศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ หรือรอบทวารหนัก บางตุ่มเกิดฝ่ามือฝ่าเท้าได้ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้กองระบาดวิทยากำหนดหลักเกณฑ์ และนิยามในการเฝ้าระวัง
ส่วนวัคซีนฝีดาษวานร ไทยได้หารือกับหลายประเทศ ล่าสุด กรมควบคุมโรค ได้หารือกับ รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา หรือ CDC เกี่ยวกับวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนฝีดาษวานรรุ่นใหม่ๆ หากมีจะรายงานเพิ่มเติม
สำหรับวัคซีนเดิมเป็นวัคซีนโรคฝีดาษคน ขณะนี้ กำลังทดลองฝีดาษวานร โดยไทยแสดงเจตจำนงว่า หากวัคซีนมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไทยสนใจที่จะนำมาใช้ แต่มีการ
พิจารณา คือต้องดูว่า
1.มีประสิทธิภาพหรือไม่กับฝีดาษวานร
2.มีผลข้างเคียงขนาดไหน เป็นที่ยอมรับหรือไม่
3.ต้องพิจารณาสถานการณ์ระบาด และ
4. ความสามารถในการจัดหา ก็ต้องพิจารณาทั้งหมด ซึ่งฝีดาษวานรดูเหมือนความรุนแรงไม่มากนัก จึงต้องดูปัจจัยทั้งสี่ประการควบคู่
#ฝีดาษลิง
#ประสานใช้วัคซีน