ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือนพ.ค.65 ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย พบว่า
-ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งภาวะปัจจุบัน และในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ปรับลดลง จากภาวะค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นซ้ำเติมกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ และมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐทยอยหมดลง ซึ่งกดดันการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีก
-ดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลง เกิดจากการปรับราคาสินค้าหลายรายการตามต้นทุน และค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคจะคลายความกังวลสถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นจากการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
-ความเชื่อมั่นต่อยอดขาย แตกต่างกันตามปัจจัยเฉพาะในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับลดลงจากราคาสินค้าหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ กรุงเทพมหานครและภาคกลาง ปรับดีขึ้นจากพฤติกรรมการคุมสินค้าก่อนราคาจะขึ้น และร้านค้าส่วนใหญ่ทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายเพิ่มเติม
-ประเด็นพิเศษ พบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะราคาสินค้าขั้นพื้นฐานหลายหมวดที่ปรับแพงขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสินค้าจำเป็น อีกทั้งยังพบว่าผู้บริโภคออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว การกลับเข้าทำงานที่บริษัท และการเปิดภาคการศึกษา
-การประเมินผลกระทบด้านแรงงานในภาคการค้า ธุรกิจส่วนใหญ่ ขาดแรงงานไทยที่มีทักษะ โดยเฉพาะทักษะด้าน IT เพื่อพัฒนาช่องทางการขายออนไลน์และทักษะด้านภาษา
-แนวทางการจัดการแรงงานใน 3เดือนข้างหน้า กรณีขาดแคลนแรงงาน
*44% จ้างงาน Part-Time ด้วยอัตราค่าจ้างเท่าเดิม
*23%ไม่จ้างเพิ่ม แต่เพิ่มความสามารถแรงงาน
*18% จ้างเพิ่ม และเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานใหม่
-13% ไม่จ้างเพิ่ม แต่เพิ่มชั่วโมงการทำงาน
-3% ไม่จ้างเพิ่ม แต่เพิ่มค่าจ้างให้แรงงานเดิม
#ดัชนีค้าปลีก
CR:ธนาคารแห่งประเทศไทย