หลังจากที่เมื่อวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออกเดือนเม.ย.65 ขยายตัว 9.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ 19.5% แม้เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แต่หากหักทองคำ การส่งออกในเดือนเม.ย.65 จะขยายตัวได้ 8.9% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.5% SCB Economic Intelligence Center โดยดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ และ คุณวิชาญ กุลาตี เขียนข้อมูลที่มีประเด็นที่น่าสนใจ
-การส่งออกรายตลาด พบว่า เกือบทุกตลาดล้วนมีแนวโน้มหดตัว ชะลอตัวลงหรือทรงตัว มีเพียงกลุ่ม CLMV และฮ่องกงที่เร่งตัวขึ้น โดยปัจจัยฉุดสำคัญ ได้แก่ การส่งออกไปจีนที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ -7.2% เนื่องจากมาตรการปิดเมืองที่ยืดเยื้อและผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
-การส่งออกไปยุโรป (EU28) ยังขยายตัวได้ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน (0.0%)
-การส่งออกไปรัสเซียและยูเครนยังคงหดตัวอย่างรุนแรงที่ -76.8% และ -94.9%
-การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ยังขยายตัวได้สูงที่ 392.2% จากการส่งออกทองคำเป็นหลัก
ในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าพบว่าแม้ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ แต่มีบางหมวดสำคัญที่หดตัวหรือชะลอตัวลงโดย
(1) สินค้าเกษตรขยายตัวได้ 3% โดยเฉพาะจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและข้าว แต่มีผลไม้และยางพาราเป็นปัจจัยฉุด
(2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 22.8% โดยเฉพาะจากไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย และอาหารเลี้ยงสัตว์
(3) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 8.3% โดยเฉพาะจากอากาศยานฯ เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมและแผงวงจรไฟฟ้า แต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางเป็นปัจจัยฉุดสำคัญ
(4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัว 39% โดยเฉพาะจากน้ำมันสำเร็จรูป
-EIC มองว่า มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้ ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยในระยะถัดไป
การส่งออกในตลาดสำคัญ 6 อันดับแรก
1.อาเซียน 26.9%
2.สหรัฐฯ 13.6%
3.CLMV 9.3%
4.จีน -7.2%
5.ญี่ปุ่น -0.3%
6.EU 0%
#ส่งออกไปจีน
CR:SCB Economic Intelligence Center