ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 32,051.07 จุด ลดลง 109.67 จุด หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% แต่ต่ำกว่าระดับ 8.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2524 หรือในรอบ 40 ปี
นอกจากนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.2% แต่ต่ำกว่าระดับ 1.2% ในเดือนมี.ค. ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 6.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.0% แต่ต่ำกว่าระดับ 6.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2525 แต่เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 0.6% ในเดือนเม.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.4% และสูงกว่าระดับ 0.3% ในเดือนมี.ค.
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทได้ทรุดตัวลงติดต่อกัน 3 วันในวันที่ 5-6 พ.ค. และวันที่ 9 พ.ค. เนื่องจาก นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนมิ.ย.เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แม้นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวก่อนหน้านี้ว่าเฟดไม่ได้พิจารณาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขนาดนั้นก็ตาม
การดิ่งลงของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในช่วง 3 วันดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าตลาดของบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐทรุดตัวลงรวมมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยบริษัทแอปเปิลมีมูลค่าตลาดลดลง 2.2 แสนล้านดอลลาร์, ไมโครซอฟท์ ลดลง 1.89 แสนล้านดอลลาร์, เทสลา ลดลง 1.99 แสนล้านดอลลาร์, แอมะซอน ลดลง 1.73 แสนล้านดอลลาร์, อัลฟาเบท ลดลง 1.23 แสนล้านดอลลาร์, Nvidia ลดลง 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และเมตา แพลตฟอร์มส์ (เฟซบุ๊ก) ลดลง 7 หมื่นล้านดอลลาร์
แต่ล่าสุดเมื่อเวลา 21.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ กลับมาเคลื่อนไหวในแนวบวก อยู่ที่ 32,468.10 จุด เพิ่มขึ้น 307.36จุด
ปิดตลาด ดาวโจนส์ ลดลง 326.63 จุด (1.02% ) ปิดที่ 31,834.11 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 65.87 จุด (1.65% ) ปิดที่ 3,935.18 จุด แนสแดค ลดลง 373.43 จุด (3.18%) ปิดที่ 11,364.24 จุด
#เงินเฟ้อสหรัฐ