มาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 32 บาท ออกไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค.65 และจะมีมาตรการอื่นอีกหรือไม่ที่จะช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานทำงานร่วมมือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกระทรวงพลังงาน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และ บมจ. ปตท. (PTT) เป็นต้น ทบทวนมาตรการช่วยเหลือประชาชนในด้านพลังงาน โดยให้ร่วมมือกันหาแนวทางใหม่ๆ และนำมาเสนอปลัดกระทรวงพลังงานในวันที่ 13 พ.ค. 65 พร้อมมองว่า แนวทางที่ดีที่สุดคือ ขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงาน พร้อมกันนี้เตรียมปรับแผนพลังงานระยะยาว โดยให้เน้นพลังงานสะอาดเป็นหลัก ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในอนาคต เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของคนรุ่นหลัง
กรณีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ไปพิจารณาหาวิธีนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในช่วงฤดูร้อนนี้ที่ราคา LNG โลกอ่อนตัวลงเหลือ 21-23 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู จากช่วงต้นปี 2565 ที่ราคาเคยสูงถึง 30-40 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู และเร่งรัดสร้างคลังจัดเก็บ LNG ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะหากเข้าสู่ฤดูหนาวราคาจะแพงขึ้นอีกครั้ง ส่วนผู้นำเข้า LNG ก็ให้พิจารณาการซื้อ LNG เก็บไว้แล้วทำประกันความเสี่ยงด้านราคา (Hedging) เป็นต้น
การซื้อ LNG ในช่วงราคาลดลง จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงด้วย โดยหากราคา LNG อยู่ที่ 35 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู จะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงถึง 7.5 บาทต่อหน่วย แต่หากราคา LNG อยู่ที่ 21 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4-5 บาทต่อหน่วย แม้ค่าไฟฟ้าจะลดลงได้แต่ก็ยังแพงอยู่ ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงต้องให้โรงไฟฟ้าสลับใช้ LNG กับน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้าตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลงในแต่ละช่วงเวลา
#น้ำมันแพง
#มาตรการช่วยประชาชน
แฟ้มภาพ