ศูนย์จีโนม วิเคราะห์ 'แอฟริกาใต้-สหรัฐฯ' ระวังการระบาดรอบใหม่จากโควิดสายพันธุ์ย่อย

03 พฤษภาคม 2565, 10:05น.


          Center for Medical Genomics  ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโคโรนา 2019 หากมีขึ้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ (new variant) เสมอไป แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย (Omicron sub-variant) ที่อุบัติขึ้นมา เนื่องจากการกลายพันธุ์เพียง 1-2 ตำแหน่งบนยีนที่สร้างส่วนหนามแหลม (spike/S gene) เพิ่มความสามารถในการระบาดระหว่างคนสู่คนได้เร็วกว่าและเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ดั้งเดิม สามารถลดประสิทธิภาพของวัคซีนและหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้



        จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่โอไมครอน 3 สายพันธุ์ย่อย (3 new sub-variant) คือ BA.4 และ BA.5 อาจทำให้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในแอฟริกาใต้ (ภาพ 7) ส่วน BA.2.12.1 อาจทำให้การระบาดระลอกใหม่ในสหรัฐฯ (ภาพ8) จากนั้นอาจมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ (new variant) ที่แตกต่างจากโอไมครอนที่เกิดขึ้นมา







 



 



          แต่หากสังเกตให้ดีอาการความรุนแรงในการก่อโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น จำนวนผู้เจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้น ผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5 หรือ BA.2.12.1 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกับโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม ทำให้องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป กำลังจับตามองโอไมครอนสามสายพันธุ์ย่อย แต่ยังไม่ได้แยกกลุ่มตั้งชื่อใหม่



         ภาพรวมของประเทศไทยหลังสงกรานต์ พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตค่อยๆลดลงเช่นกัน เนื่องจาก ประชาชนให้ความร่วมมือดีในการฉีดวัคซีนครบโดสบวกเข็มกระตุ้นและการ์ดไม่ตกโดยเฉพาะการเว้นระยะห่างทางกายภาพและการสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจ ATK ด้วยตนเอง





          โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยในประเทศไทย BA.1 สูญพันธุ์ไปเรียบร้อย BA.2 ค่อยๆลดจำนวนลง มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทย สามารถเข้าสู่โหมด “โรคประจำถิ่น” ที่สาธารณสุขไทยสามารถควบคุมการระบาดได้ในเร็ววัน



 



#โควิดสายพันธุ์ย่อย



CR:Center for Medical Genomics

ข่าวทั้งหมด

X