เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี ระบุว่า ทุ่งใหญ่หนาวมาก อากาศที่เย็นลงรวดเร็ว นอกจากคนที่ได้รับผลกระทบจากอากาศที่หนาวแล้ว สัตว์ก็ปรับตัวได้ สังเกตได้ชัด ผีเสื้อกลางวันในเขตรักษาพันธุ์ทุ่งใหญ่นเรศวรฯ เป็นต้น เมื่อสอง 2-3 วันนี้ยังบินสวยงามอยู่ดีๆ มาวันนี้ตายหมดแล้ว เนื่องจาก อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้มีผลกระทบต่อแมลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือแมลงในกลุ่มของผีเสื้อ ที่มีลักษณะที่บอบบางและไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน และนอกจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้ว ยังมีฝนตกในพื้นที่ อาจส่งผลให้ผีเสื้อที่ไม่พร้อมในการปรับตัวรวมถึงลักษณะทางกายภาพของผีเสื้อชนิดนั้นๆที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทำให้ผีเสื้อที่ออกจากดักแด้มาแล้วปรับตัวไม่ทัน และตายในที่สุด
แมลงเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold Blooded Animals) อุณหภูมิภายในตัวแมลง ผันแปรไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมนั้นๆ เมื่ออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมต่ำ อุณหภูมิภายในตัวแมลงก็ต่ำด้วย บางครั้งต้องพักตัว (hibernate) ในระยะต่าง ๆ เช่น หากมีอุณหภูมิที่ต่ำลงกรณีแบบนี้ อาจจะทำให้แมลง ในระยะดักแด้ยาวนานมากขึ้น
รายงานอุณหภูมิของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ก่อนปรากฏการณ์ วันที่ 31 มี.ค. 65 อุณหภูมิต่ำสุด 20 สูงสุด 30 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิลดลงเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เม.ย.65 อยู่ที่ต่ำสุด 20 สูงสุด 24 องศาเซลเซียส และเมื่อวานนี้ 3 เม.ย.65 อุณหภูมิต่ำสุด ลดลงมาถึง 16 องศาเซลเซียส
#ผีเสื้อตายเกลื่อน
#หนาววูบ
CR:เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก