นางเคลซี ซิงเกอร์ นักวิจัยอาวุโสของสถาบันวิจัยเซาธ์เวสต์ ในเมืองโบลเดอร์ เผยแพร่รายงานผ่านวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications) วิเคราะห์ภาพถ่ายจากยานนิวฮอไรซอน (New Horizons) ขององค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศอเมริกา หรือ NASA ขณะอยู่ห่างจากดาวพลูโตประมาณ 12,500 กิโลเมตร เมื่อปี 2558 ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการระบุว่า พบพื้นที่บริเวณกว้างที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่ถูกเรียกว่า "พื้นที่ทอมบอ" (Tombaugh Regio) ซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่ำซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งหลายประเภท มีพื้นที่ประมาณ 1,590 กิโลเมตร
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า ทางด้านซ้ายของพื้นที่ทอมบอ ในส่วนที่เรียกว่า “ที่ราบต่ำสปุตนิก” (Sputnik Planitia) คือภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดยักษ์ซึ่งปกคลุมพื้นที่อยู่ทั่วไป ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ดาวพลูโต ถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ในปี 2549 เมื่อสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล มีการให้คำจำกัดความใหม่สำหรับดาวเคราะห์ ทำให้ไม่เข้าเกณฑ์การเป็นดาวเคราะห์
อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยานอวกาศเดินทางผ่านพลูโตและดวงจันทร์บริวารเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ทำให้พบข้อมูลใหม่นั่นคือการพบน้ำแข็งจำนวนมากปกคลุมพื้นที่ทั่วไป มีอุณหภูมิเฉลี่ยติดลบ 387 องศาฟาเรนไฮต์ (ลบ 232 องศาเซลเซียส) เป็นที่ตั้งของภูเขา หุบเขา ธารน้ำแข็ง ที่ราบ และหลุมอุกกาบาต
โดยบริเวณที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนดาวพลูโตที่มีความแตกต่างจากโลกหรือดาวดวงอื่นในจักรวาลของเรา
นางซิงเกอร์ ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์พบทุ่งภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่เหมือนที่อื่นที่เคยพบเห็นในระบบสุริยะ
โดยทั่วไปการเกิดภูเขาไฟคือการที่มีวัสดุเคลื่อนย้ายจากใต้ดินขึ้นมา แต่ที่พลูโตคือการกลายเป็นน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากการก่อตัวเป็นภูเขา โดยไม่มีแอ่งภูเขาไฟบนยอด และมีตุ่มขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป แต่ไม่มีหลุมอุกกาบาต
มีข้อบ่งชี้ว่าภูเขาไฟน้ำแข็งเพิ่งก่อตัวได้ประมาณ 100 ล้านจนถึง 200 ล้านปีก่อน ภายในแกนของดาวยังมีความร้อนตกค้างมากกว่าที่คาดไว้ พื้นผิวเย็นมากจนน้ำของเหลวไม่สามารถคงอยู่ได้นาน และดาวพลูโตเคยมีมหาสมุทรใต้ผิวดิน
การค้นพบภูเขาไฟน้ำแข็งเหล่านี้อาจบ่งบอกว่ายังมีมหาสมุทรใต้ผิวดิน เมื่อรวมกับแนวคิดที่ว่าดาวพลูโตมีชั้นภายในที่อบอุ่นกว่าที่เคยตั้งข้อสันนิษฐานไว้ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับศักยภาพของสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตามในการอยู่อาศัย ซึ่งจะต้องเป็นการส่งยานไปสำรวจใต้ผิวดิน เพราะจะต้องมีการเจาะน้ำแข็งเพื่อมองเข้าไปในดาวพลูโตได้โดยตรง
....
#พลูโต
#ภูเขาไฟน้ำแข็ง