นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงเรื่องโควิด-19สายพันธุ์โอไมครอนว่า
1.การระบาดในไทยเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์โอไมครอน และเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากกว่า BA.1 พบว่า BA.2 คิดเป็นสัดส่วน 78.5%
-ยังไม่มีข้อมูลว่า BA.2 มีความรุนแรงมากกว่า BA.1 หรือไม่
-ส่วนการกระจายในพื้นที่ 13 เขต พบสายพันธุ์ BA.2 เกือบทุกเขต ในพื้นที่ เขต4 มีจำนวนมากที่สุด 90% จากการตรวจกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,000 ตัวอย่าง มาจากกลุ่มประชาชนทั่วไป ยังมีกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศอีก 12%
2.พบสายพันธุ์ย่อย BA.2.2 จำนวน 22 คน และ BA.2.3 จำนวน 61 คน จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวกว่า 500 ตัวอย่าง ทุกสัปดาห์
-สถานการณ์การติดเชื้อในฮ่องกง ที่พบ BA.2.2 ถ้าดูข้อมูลในฐานข้อมูลกลาง จนถึงวันนี้ ยังไม่ได้กำหนดชื่อเรียกสายพันธุ์ เป็นเพียงการรับรู้และติดตาม ส่วนจะแพร่ระบาดเร็ว หรือ หนีวัคซีนได้หรือไม่ ในเบื้องต้น ยังไม่มีข้อมูล
-ในส่วนของไทย พบสายพันธุ์ BA.2.2 ติดเชื้อในไทย14 คน มาจากต่างประเทศ 8 คน
-สายพันธุ์ BA.2.3 ในไทย 27 คน มาจากตปท.34 คน จากข้อมูลน่าจะใช้ระยะเวลาอีกสักระยะถึงจะวิเคราะห์และสรุปได้
3.สายพันธุ์ผสม เดลตาครอน (BA.1+AY.4) มีรายงานทั่วโลกแล้ว 64 คน รอตรวจสอบอีกกว่า 4,000 คน (ซึ่งเป็นส่วนที่ส่งมาจากไทย 73 คน) ส่วนมากเป็นตัวอย่างในช่วงที่ยังมีการระบาดของเดลตาอยู่มาก ปัจจุบันลดลงมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดชั้นให้เดลตาครอน เป็นเพียงสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเรื่องการแพร่ระบาดเร็ว ความรุนแรงและการหลบภูมิ
-ประเทศที่พบเดลตาครอน เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ WHO ระบุว่า พบเดลตาครอน ตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งเป็นช่วงที่เดลตาแพร่ระบาดยังไม่ลดลงมากและโอไมครอน กำลังเริ่มต้น
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เน้นย้ำ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ก่อนสงกรานต์
ด้านนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำการตรวจหาเชื้อด้วยการใช้ชุดตรวจ ATK และ RT-PCR ยืนยัน ให้ใช้กรณีมีอาการ มีอาการต้องสงสัย และตามเกณฑ์ทางระบาด คือ จะตรวจเมื่อสัมผัสคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลา 14 วัน หรือสัมผัสคนที่ติดเชื้อภายในระยะเวลา 14 วัน
#โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย
#เดลตาครอน