สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีรายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชลบุรี วันที่ 23 มีนาคม
มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 1,434 ราย (ผู้ติดเชื้อยืนยัน RT-PCR), ATK จำนวน 6,148 คน
อ.ศรีราชา PCR จำนวน 419 คน, ATK จำนวน 2,594 คน
ผู้ป่วยรายใหม่ประกอบไปด้วย
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 90 คน สะสม 3,982 คน และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,248 คน
2. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 57 คน
3. บุคลากรทางการแพทย์ 35 คน
4. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด (จังหวัดจันทบุรี 1 คน)
5. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
5.1 ในครอบครัว 311 คน
5.2 จากสถานที่ทำงาน 56 คน
5.3 บุคคลใกล้ชิด 94 คน
5.4 ร่วมวงสังสรรค์ 4 คน
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 46 คน
7. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 740 คน
ณ วันที่ 23 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 909,474คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 5,913 คน (อัตราป่วย 650.16 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 4 ราย (0.44 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 3 คน (0.33 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 8 คน (0.88 ต่อแสนประชากร)
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,901,295 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 8,938 คน (อัตราป่วย 470.10 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 21 ราย (1.10 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 10 คน (0.53 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 17 คน (0.89 ต่อแสนประชากร)
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 123,858 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 303,920 คน รวม 427,778 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 11,952 คน (อัตราป่วย 2,793.97 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 48 ราย (11.22 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 8 คน (1.87 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 45 คน (10.52 ต่อแสนประชากร)
ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 5 คน (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564, รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565, รายที่สี่พบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564, รายที่ห้าไม่พบประวัติการรับวัคซีน), พบผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 7 คน (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564, รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2564, รายที่สี่พบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 และอีกสามรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน), และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 3 ราย (รายที่หนึ่งอายุ 35 ปี, รายที่สองอายุ 79 ปี, รายที่สามอายุ 87 ปี)
สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2 564 และอีกสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน) ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
....
#ชลบุรี
#โควิด-19