ผลการวิจัยการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อรักษาโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาร่วมกับ โรงเรียนแพทย์ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้ง นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัย มีความมั่นใจว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ทำให้อาการดีขึ้น แบ่งการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้ป่วย 62 คน และ กลุ่มที่ 2 จำนวน 31 คน ได้ข้อสรุปว่า
-ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ให้ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงวันละ 1,800 มก.วันละ 2 ครั้งในวันแรก และต่อด้วยขนาด 800 มก.วันละ 2 ครั้งนานติดต่อกันอีก 4 วัน เป็นยาที่ควรเริ่มเร็วและช่วยลดอาการป่วยได้ กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงได้อย่างมีนัยสำคัญมากกว่าการไม่รับยา พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ มีอาการดีขึ้น 79% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาที่อาการดีขึ้นเพียง 32% ดังนั้น 2 กลุ่มนี้ จะเห็นว่าการให้ยาทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ผ่านมาเรารักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ กับผู้ป่วยไปเป็นล้านคนแล้ว จึงขอยืนยันขอให้เชื่อมั่นในยาที่ใช้รักษา ขอความกรุณาอย่าด้อยค่ายาที่รักษา เราเคยมีปัญหาด้อยค่าวัคซีน ทำให้หลายคนเสียโอกาสการรับโอกาส บางคนกลัวการรับวัคซีน จนหลายรายน่าเสียใจเสียชีวิตจากการไม่ได้รับวัคซีน
ด้าน นพ.มานัส กล่าวว่า ขณะนี้การรักษาโควิด-19 มีการติดตามข้อมูล และมีการปรับแนวทางการรักษาเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับยาตัวที่ 1 ยาฟาวิพิราเวียร์ มีการใช้มา 2 ปี กลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ RNA ไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลล่าสุด พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา โดยเฉพาะใน 14 วันสัดส่วนอาการดีขึ้นอยู่ที่ 86.9% ขณะที่ ยาตัวที่ 2 เรมดิซิเวียร์(Remdisivir) กลไกออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งช่วงแรกองค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้รับรอง กระทั่งมีการใช้ระยะหนึ่งทางอย.สหรัฐฯ ได้ให้การรับรองใช้ยาตัวนี้สำหรับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์กับผู้ที่ทานยาไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม และใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเมื่อศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดลง นอนโรงพยาบาลลดลงเหลือ 10 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอกต้องนอนโรงพยาบาล 15 วัน
#ยาฟาวิพิราเวียร์
#โควิด19
CR:ภาพกระทรวงสาธารณสุข,ศบค.