ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Center for Medical Genomics อธิบายเรื่องการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทยว่าจะยุติลงเมื่อไร
-จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของโอไมครอน พบว่า การระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาเฉลี่ยไม่เกิน 97 วัน หรือประมาณ 3.2 เดือน ดังนั้น การระบาดในประเทศไทยก็ไม่น่าจะเกิน 3-4 เดือน
-แต่ละประเทศจะมีจุดสูงสุด (Peak) ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคนไม่เท่ากัน
*ไทย ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 257 ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 1
*เดนมาร์ก ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 7,970 ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 8.9
*ฮ่องกง ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 5,845 ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 36
*ลัตเวีย ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 5,278 ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 14
*อังกฤษ ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 2,681ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 3.9
*สหรัฐฯ ผู้ติดเชื้อรายใหม่/ประชากร1 ล้านคน ในช่วง 7 วัน = 2,425 ผู้เสียชีวิต/ประชากร 1ล้านคน = 7.7
มีการตรวจพบเชื้อโอไมครอน BA.2.2 ในประเทศไทยและอาเซียนบ้างแล้วหรือไม่
-คำตอบคือ ยังไม่พบในประเทศไทยแต่ในอาเซียนพบแล้วใน อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา สิงคโปร์
1.จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (ของไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างส่งตรวจ RT-PCR ที่ให้ผลเป็นบวก) ใน “ประเทศไทย” ร้อยละ 0.1 ยังไม่พบ BA.2.2
2.จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (ของไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างส่งตรวจ RT-PCR ที่ให้ผลเป็นบวก) ใน “กัมพูชา” ร้อยละ 3.1 พบ BA.2.2 จำนวน 1 ตัวอย่าง
3. จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (ของไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างส่งตรวจ RT-PCR ที่ให้ผลเป็นบวก) ใน “สิงคโปร์” ร้อยละ 0.20 พบ BA.2.2 จำนวน 11 ตัวอย่าง
4. จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (ของไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างส่งตรวจ RT-PCR ที่ให้ผลเป็นบวก) ใน “บรูไน” ร้อยละ 0.20 พบ BA.2.2 จำนวน 1 ตัวอย่าง
5. จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (ของไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างส่งตรวจ RT-PCR ที่ให้ผลเป็นบวก) ใน “อินโดนีเซีย” ร้อยละ 0.10 พบ BA.2.2 จำนวน 4 ตัวอย่าง
#ศูนย์จีโนม
#โอไมครอน
CR:Center for Medical Genomics