พญ.สุมณี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยเรื่องแนวโน้มการปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นว่ามีการพิจารณาอย่างรอบด้าน คำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงบริการของประชาชนและการกลับมาใช้ชีวิตทำมาหากินตามปกติ เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ New Normal หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต้องมีแผนการรองรับ ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข เตือนภัยระดับที่ 4 ขอความร่วมมือเพื่อควบคุมตัวเลขการติดเชื้อไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ขณะที่ใกล้จะสงกรานต์ ขอความร่วมมือบุตรหลานนำผู้สูงอายุมาฉีดวัคซีน รักษามาตรการส่วนบุคคลเคร่งครัด เช่น การทำงานที่บ้าน ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ หรือ ไปต่างจังหวัด เร่งฉีดวัคซีนทุกเข็ม
ส่วนการติดเชื้อโควิด-19 ในต่างประเทศ ในประเทศ และ การติดตามผู้ติดเชื้ออาการหนัก
-สถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง แต่ประเทศที่พบการติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ เยอรมนี รัสเซีย เวียดนาม
-การเสียชีวิตทั่วโลก มีแนวโน้มคงที่
-การติดเชื้อของไทยในรอบ 7วัน พบการติดเชื้อสะสม 163,751 คน เสียชีวิต 4 ราย การรายงานในวันนี้ พบว่า ตัวเลขติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกภาค คาดว่า ตัวเลขจะสูงสุดกลางเดือนเม.ย.65 ประมาณ 4-5 หมื่นคน จากนั้นจะค่อยๆลดลง หากปฎิบัติตามมาตรการและทุกหน่วยงานร่วมมือกัน เคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลงไม่เกิน 2 หมื่นคน การระบาดระลอกนี้จะค่อยๆต่ำสุดปลายเดือนพ.ค.65
-จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่สูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยปอดอักเสบ และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะคนอายุมากกว่า50ปี และคนที่มีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคไต และโรคอ้วน รวมทั้งคนที่ไม่ได้รับวัคซีนในทุกเข็ม ที่สำคัญ คือ เข็มกระตุ้น ลดอาการป่วยหนักได้ ย้ำว่า เข็มกระตุ้นลดอัตราการเสียชีวิตได้ 7เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
-การรายงานผู้ติดเชื้อในวันนี้ที่พบว่ามีผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,131คน พบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1 ใน 3 ใส่ท่อช่วยหายใจมีจำนวน 325 คน
-วันนี้มีผู้รักษาตัวจำนวน 223,414 คน อยู่ในโรงพยาบาล 79,412 คน พบว่าส่วนใหญ่กว่า 7หมื่นคน หรือ 98.5% เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวอาการน้อย วันนี้มีการพูดคุยในที่ประชุมศบค.ในเรื่องการเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ช่วยรับโทรศัพท์หมายเลข 1330 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ในเบื้องต้น พบว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 300 นาย มาช่วยรับสาย รวมทั้งจิตอาสา และ ภาคประชาสังคม นอกจากนี้มีการหารือที่จะรวมศูนย์ในการรับสายโทรศัพท์ที่เป็นคอลเซ็นเตอร์สายด่วนฉุกเฉิน และในช่วงนี้สายด่วน 1330 มีประชาชนโทรเข้าจำนวนมาก หากผู้ติดเชื้อที่มีผล ATK เป็นบวกและมีอาการรุนแรง หรือเป็นผู้ป่วยสีแดงให้รีบติดต่อสายด่วน 1669
-จากจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่รายงานในวันนี้ 1,131 คน พบว่ากระจายรักษาตามจังหวัดต่างๆ 10 จังหวัดที่พบผู้ป่วยปอดอักเสบมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ 178 คน สมุทรปราการ 88 คน บุรีรัมย์ 63 คน นนทบุรี 62 คน ภูเก็ต 55 คน นอกจากนี้ มีจังหวัดที่พบผู้ป่วย 30 กว่าคนรักษาตัว เช่น กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นครราชสีมา และ ชลบุรี
-การระบาดระลอกเดือน ม.ค.65 ที่เป็นสายพันธุ์โอไมครอน พบว่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบน้อยกว่าระลอกเดือนเม.ย.64 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดลตาๆ ค่าเฉลี่ยผู้ป่วยปอดอักเสบประมาณ 5,000 คน ส่วนระลอกนี้ สายพันธุ์โอไมครอน พบผู้ป่วยปอดอักเสบค่าเฉลี่ย 625 คน คาดว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบจะมากที่สุดต้นเดือนพ.ค.65 หลังสงกรานต์สองสัปดาห์
-รองอธิบดีกรมการแพทย์ รายงานเรื่องการครองเตียงว่าได้ใช้เตียงไปแล้ว 58.1% เป็นเตียงสีเขียว 66.04% สีเหลือง สีส้ม 22.7% และ 14.1% ส่วนเตียงสีแดง 22.4%
#โควิด19
#ปอดอักเสบ