Center for Medical Genomics วิเคราะห์การติดเชื้อโอไมครอนในเดนมาร์ก พบว่า สายพันธุ์ BA.2 ไม่ได้รุนแรงมากไปกว่าสายพันธุ์ BA.1 ไม่ทำให้เกิดการระบาดระลอกที่ 6
การระบาดระลอกที่ 5 ตั้งแต่ 24 ธ.ค. 2564 เป็นต้นมาว่ามีการระบาดของสายพันธุ์ “โอไมครอน” โดยมีช่วงเวลาการระบาดในประเทศอื่นๆ เช่น แอฟริกาใต้ อังกฤษ สหรัฐฯ เดนมาร์ก ประมาณ 2 เดือน ประกอบด้วยสายพันธุ์ BA.1, BA.1.1, และ BA.2 ยังไม่พบ BA.3 ในประเทศไทย เป็นการกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “B.1.1”
จากการศึกษาในเดนมาร์กที่มีการระบาดของ BA.1 และติดตามมาด้วยการระบาด BA.2 (reinfection) จำนวนกว่า 1.8 ล้านคน
-พบว่าการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 หลังจากติดเชื้อ BA.1 ครั้งแรก น้อยมากคือประมาณ 1 ใน 100 โดยส่วนใหญ่ (89%)
-จะเป็นเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอายุตั้งแต่ 0-19ปี น่าจะมีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก ความเชื่อในกลุ่มประชากรส่วนหนึ่งว่าเยาวชนนั้น มีโอกาสรอดตายจากโรคนี้มากกว่าผู้สูงอายุจึงอาจปล่อยการ์ดตก ไม่เว้นระยะห่าง จัดงานชุมนุมเลี้ยงฉลอง และไม่ฉีดวัคซีน
-จากการศึกษาในเดนมาร์ก 1.8 ล้านคนในโครงการเดียวกันยังพบว่าการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 หลังจากติดเชื้อ BA.1 ครั้งแรก จะพบได้ยากมากในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน
-ผู้ติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 พบว่า มีอาการไม่รุนแรง ดังนั้นที่ต้องเร่งดำเนินการในประเทศไทยและทั่วโลกคือการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กและเยาวชน
**ไม่พบว่า BA.2 ก่อโรคโควิด-19 รุนแรงต่างไปจาก BA.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
**ทำให้ WHO ยังยืนยันให้ BA.2 เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอนสายพันธุ์หลัก (BA.1) มิได้แยกออกมาตั้งชื่อใหม่ในกลุ่มของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern; VOC) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา และ โอไมครอน
***คาดว่าการระบาด BA.2 ที่เข้ามาแทนที่ BA.1 จะไม่ก่อให้เกิดการระบาดระลอกที่ 6 เพราะ BA.2 ไม่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ที่ติดเชื้อ BA.1 ได้ BA.2 ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่เป็นเพียงพันธุ์ย่อยของโอไมครอน
จากข้อมูลล่าสุด พบว่า วัคซีนใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อยับยั้งโอไมครอนเป็นการเฉพาะ เมื่อนำไปทดสอบในสัตว์ทดลอง พบว่า สามารถต่อต้านโอไมครอนได้ดี แต่กลับป้องกันสายพันธุ์อื่นที่เคยระบาดมาก่อนหน้า เช่น เดลตาได้ไม่ดีนัก ดังนั้นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะต่อโอไมครอน อาจใช้เป็นวัคซีนทางเลือกร่วมกับวัคซีนที่มีอยู่เดิม แต่ก็อาจเบาใจได้ในระดับหนึ่งเพราะผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่พบสายพันธุ์ที่ยุติการกลายพันธุ์ไปแล้วและปัจจุบันตรวจไม่พบแล้ว(ในไทย) เช่น B, B.1, B.1.1, B.1.36.16, อัลฟา, เบตา, และ แกมมา ฯลฯ กลับมาระบาดซ้ำอีก ส่วนเดลตาบางประเทศตรวจไม่พบแล้ว ในประเทศไทยลดจำนวนลงมาก ศูนย์จีโนมฯตรวจพบเดลตาจำนวนไม่มากจากตัวอย่างจากเรือนจำ แต่ก็ยังประมาทไม่ได้เพราะไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ อุบัติขึ้นมาเพียง 2 ปีกว่า เรายังไม่มีข้อมูลมากนักเหมือนโรคอุบัติซ้ำอื่นๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไข้เลือดออก
#โอไมครอน
#โควิด19
CR:Facebook Center for Medical Genomics