ครองไทย! กรมวิทย์ฯ พบสายพันธุ์โอไมครอนในไทย 97.2% เดลตาเหลือ 2.8%

15 กุมภาพันธ์ 2565, 12:52น.


           การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงประเด็น : การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และโอไมครอนว่า ช่วงสัปดาห์ที่แล้วมีการตรวจไปประมาณ 2,000 ตัวอย่างพบ 97.2% เป็นโอไมครอน เหลือเพียง 2.8% เป็นเดลตา แสดงว่ายังมีเดลตาหลงเหลืออยู่บ้าง โดยพบจังหวัด Top Ten ที่พบโอไมครอนเยอะ อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร มากที่สุด รองลงมาเป็น ภูเก็ต ชลบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ หนองคาย สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น ซึ่งประเทศไทยพบทั่วทุกจังหวัด แต่จะมากน้อยแตกต่างกันไป



          จะเห็นความเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ โดยภาพรวมกว่า 97% เป็นโอไมครอน เหลือ 2.8% เป็นเดลตา แต่หากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมาจากต่างประเทศเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณ 99.4% ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ส่วนกลุ่มอื่นๆในประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ประมาณ 96.2% อีกไม่นานจะเข้าใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์





          เมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนค่อนข้างเร็ว สำหรับประเทศไทย นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ยังบอกไม่ได้ว่า BA.2 แพร่เร็วกว่า BA.กี่เท่ามากน้อยแค่ไหน แต่จะตามดูรายสัปดาห์ อย่างสัปดาห์นี้เจอประมาณ 18% หากสัปดาห์หน้าแพร่เร็วถึง 30-40% ก็ถือว่าแพร่เร็ว แต่ระดับโลกเห็นตัวเลขเปลี่ยนพอสมควร จากเดิม 1-2% แต่ตัวเลขตอนนี้เริ่มมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด  





          อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายชิ้น ระบุว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยป้องกันสายพันธุ์ทั้ง BA.1 และ BA.2  ช่วยลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้  นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ฯ ได้มีการตรวจสอบภูมิคุ้มกันวัคซีน โดยเอาเชื้อจริงมาเพาะเชื้อ และเอาซีรั่มของอาสาสมัครมาตรวจสอบ โดยที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์โอไมครอน แต่ตอนนี้เรามีตัวอย่าง BA.1 และ BA.2 ซึ่งทางกรมจะตรวจสอบภูมิคุ้มกันว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะมีผลต่อสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้หรือไม่ 



#โอไมครอน



#กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข่าวทั้งหมด

X