พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขทำกราฟว่าตั้งแต่ต้นปีถึงสัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์ มีจังหวัดที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2 เท่าหรือดับเบิล คือ กรุงเทพมหานคร(กทม.) และ ปริมณฑล โดยเฉพาะ 10 จังหวัดที่มีรายงานสูงสุด เช่น กรุงเทพฯ จาก 9.7 พันคน เพิ่มเป็น 1.7 หมื่นคน, สมุทรปราการ จาก 4-5 พันคน เป็น 6.9 พันคน, ชลบุรีจาก 2.5 พันคนเป็น 4.8 พันคน, นนทบุรี จาก 2.7 พันคน เป็น 4.3 พันคน, ภูเก็ต 2.5 พันคน เป็น 3 พันคน, นครราชสีมา จาก 1 พันคน เป็น 2.2 พันคน, ราชบุรี จาก 900 คนเป็น 2 พันคน, สมุทรสาคร 911 คน เป็น 2 พันคน, นครศรีธรรมราช 912 คน เป็น 1.9 พันคน และ นครปฐม จาก 749 คน เป็น 1.8 พันคน
หลายจังหวัดแม้ไม่ได้เพิ่มอย่างกลุ่ม 10 จังหวัดแรก แต่มีทิศทางเพิ่ม เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ ปทุมธานี มหาสารคาม ระยอง ร้อยเอ็ด ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี สระบุรี และเพชรบุรี เป็นกลุ่มจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรวมการติดเชื้อสูงยังเป็นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว การวิเคราะห์คลัสเตอร์แต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน
คลัสเตอร์สำคัญยังเป็นร้านอาหารที่จำหน่ายแอลกอฮอล์, ตลาด ซึ่งที่ติดเชื้อซ้ำ คือ แออัด ระบายอากาศไม่ดี ผู้ค้าไม่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ลูกค้าก็แออัด ไม่จำกัดจำนวนคน ไม่เข้มงวดการตรวจ ATK , สถานประกอบการ โรงงาน มักติดเชื้อในส่วนของการรับประทานอาหารร่วมกัน เพราะเจอทุกวันไว้วางใจ เปิดหน้ากากอนามัยพูดคุย ไม่เว้นระยะห่างเพียงพอ และมักรับเชื้อจากบ้านมากระจายที่ทำงาน ทำงานไม่เคร่งครัดมาตรการ ไม่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ศบค.เน้นย้ำมาตรการ Bubble&Seal เพื่อไม่ให้ติดเชื้อไปยังแผนกอื่น , งานประเพณี มีทั้งงานศพ พิธีกรรมไม่ได้เกิดโอกาสแพร่เชื้อ แต่หลังพิธีกรรมมีการจัดเลี้ยงรับประทานอาหารร่วมกัน ตั้งวงดื่มสุรา การละเล่นหมอลำ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญในการติดเชื้อ
#โควิด19