การประชุมศูนย์บริหารการติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) รายงานความคืบหน้าการจัดหาชุดตรวจ ATK ที่นายกฯ ย้ำว่าจะต้องเข้าถึงประชาชนและราคาจะต้องไม่แพง นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า สปสช. รายงานว่า
-ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 เป็นต้นไป มีการประมาณการณ์การใช้จ่ายชุดตรวจ ATK ประชาชนซื้อเองใช้เอง 56,000 ราย/ชิ้นต่อวัน ราคา 80 บาท ปรับลดลงอยู่ที่ชุดละ 55 บาท
-ราคาชุดตรวจ ATK จากหน่วยบริการที่ลงพื้นที่ไปตรวจน่าจะมีการตรวจให้ประชาชนวันละ 50,000 ราย ลดราคาจาก 300 บาท เป็นไม่เกิน 250 บาท
-การตรวจ RT-PCR จาก 1,200 บาท เหลือไม่เกิน 900 บาท
-ศบค.พยายามลดค่าใช้จ่าย บางประเทศไม่จ่ายให้ประชาชนแล้ว แต่ไทยยังจ่ายจึงขอให้ปรับลดราคา
-ที่ประชุม ศบค.ให้สปสช. สนับสนุนใช้ชุดตรวจฝีมือคนไทยที่ใช้ได้ในการตรวจจริงและผลมีความแม่นยำ
ส่วนผลการประชุมศบค.ในประเด็นที่สำคัญ
-องค์การอนามัยโลก(WHO) รับรองเรื่องที่ไทยจะจัดส่งวัคซีนให้ประเทศในกลุ่มแอฟริกา ด้วยการให้ไทยส่งตรงได้เลย ซึ่งที่ประชุมศบค.เห็นชอบให้ดำเนินการ ก่อนหน้านี้ เดือน ม.ค.65 ไทยได้รับวัคซีนซิโนแวคจากจีน 5 แสนโดส และในเดือนมี.ค.65 จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มจากฝรั่งเศสอีก 400,140 โดส
-กระทรวงคมนาคม และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เสนอการจัดทำความตกลง Air Travel Bubble (ATB) ระหว่างไทย-อินเดีย หลังจากที่อินเดีย ระงับเที่ยวบินพาณิชย์ อนุญาตให้เฉพาะเที่ยวบินอพยพ ทำให้สายการบินของไทยไม่สามารถบินได้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงได้ดำเนินการในเรื่องนี้ เมื่อ ศบค.อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายกฯเห็นชอบเร่งรัดให้รีบทำเพื่อการติดต่อกันทางด้านการค้าและการท่องเที่ยว
-การเดินทางเข้าไทยผ่านระบบ Test & Go เมื่อช่วง 4 เดือน ปีที่แล้ว ยังไม่มีระบบ Test & Go มีคนเดินทางเข้ามา 65,000 คน ส่วนปลายปีที่แล้ว เริ่มใช้ระบบ Test & Go คนเดินทางเข้ามา 321,752 คน เพิ่มขึ้น5 เท่า จากนั้นยกเลิกการใช้ระบบนี้ชั่วคราว และเมื่อวันที่ 1 ก.พ.65 เริ่มกลับมาใช้อีกครั้ง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แจ้งว่า ระบบอนุมัติเข้าประเทศรูปแบบ Thailand Pass Hotel & Swab System (TPHS) แต่ต้องเชื่อมโยงกับระบบ Thailand Pass แก้ปัญหาการตามหาตัวนักท่องเที่ยวมาตรวจโควิด-19 ไม่ได้
-การนำแรงงานต่างด้าวประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการแล้ว แต่นายกฯเน้นว่า ทำไมยังเห็นการจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย มอบฝ่ายดูแลประสานงาน แก้ไขปัญหา เพื่อดูความต้องการจำนวนแรงงานที่นำเข้ามาให้เข้าระบบอย่างถูกต้อง กระทรวงแรงงาน รายงานว่า ไทยต้องการแรงงานในภาคการเกษตร ตามฤดูกาล แรงงานที่เข้ามาถูกต้องจะมีพื้นที่กักตัว 17 แห่ง 4,476 ห้อง รับแรงงานได้ 1,368 คน
*แรงงานกัมพูชา เข้ามากักตัวที่จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด และจันทบุรี
*แรงงานเมียนมา เข้ามากักตัวที่จังหวัดเชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระยอง
#โควิด19
CR:ภาพศูนย์ข้อมูล COVID-19