สธ.แจงเด็กเล็กติดเชื้อเพิ่มขึ้น สัมผัสในโรงเรียน ใช้วัคซีนสูตรไขว้กลุ่ม12-17ปี

10 กุมภาพันธ์ 2565, 16:38น.


          การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 5-11 ปี นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และ นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงรายละเอียด



-1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบเด็กเล็ก 0-9 ปี ติดเชื้อเพิ่มขึ้น



-เด็กอายุ  5-11ปี มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 6%



-เด็กเล็กที่ติดเชื้ออาการไม่รุนแรง โดยกลุ่มเด็กที่ป่วยและเสียชีวิต คิดเป็นสัดส่วน 0.01% ต่างจากผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี  และ 70 ปีขึ้นไป เมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง และเป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 3-4% ดังนั้น เด็กเล็กต้องมีการเว้นระยะห่างจากผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบโดส หรือ ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น     



-ปัจจัยที่เด็กเล็กติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เกิดจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อในโรงเรียน



-ปัจจัยที่เด็กวัยรุ่นเป็นอีกกลุ่มที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น คือ มีการทำกิจกรรมในชุมชน หรือ กิจกรรมนอกบ้าน



-จากการที่พบว่าเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แม้ว่าอาการจะไม่รุนแรง แต่สิ่งที่กังวล คือ อาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ จึงทำให้ต้องมีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กกลุ่มนี้



-เด็กประถม อายุ 5-11ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีส้ม 2 เข็ม ระยะห่างจากเข็มแรก 8 สัปดาห์ กระทรวงสาธารณสุข จัดส่งวัคซีนให้พื้นที่สัปดาห์ละ 3-5แสนโดส



-เด็กมัธยม อายุ 12-17 ปี



*ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ฝาสีม่วง ระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์



*สูตรไขว้ เข็มแรก เป็นวัคซีนซิโนแวค และฉีดเข็มที่สองเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ฝาสีม่วง ระยะห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์



**สูตรไขว้ กำลังพิจารณาเพิ่มเติมในกลุ่มอายุ 6-11 ปี  



-การศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พบว่าระดับภูมิคุ้มกันกลุ่มอายุ12-17ปี ฉีดวัคซีนและเจาะเลือด พบว่าสูตรไขว้ที่ฉีดให้เด็กวัยรุ่นเข็มสอง เท่ากับไฟเซอร์สองเข็ม



-สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) รับรองวัคซีนซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม ฉีดในกลุ่มอายุ 6-17 ปี จำนวน 2 เข็ม ระยะห่างจากเข็มแรก ประมาณ 4 สัปดาห์ มีวัคซีนเพียงพออยู่ในพื้นที่



-ตั้งแต่วันที่ 31ม.ค.-8ก.พ.65 ฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 5-11 ปี กว่า 6หมื่นคน ไม่ได้รับรายงานอาการไม่พึงประสงค์



-วัคซีนซิโนแวค มีการฉีดให้กลุ่มอายุ 3-17 ปี ในจีนมากที่สุด เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ 1.9 หมื่นคน



-วัคซีนไฟเซอร์ สหรัฐฯ ฉีดในกลุ่มอายุ 5-17ปี พบผลข้างเคียงอาการเล็กน้อย ข้อกังวลคือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ



          สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 สรุปทั่วโลก ขยายจากฝั่งยุโรปมาทางฝั่งเอเชียที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มาก ไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้น มีผู้เสียชีวิต หรือ มีอาการหนัก ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้  



          ผู้ติดเชื้อในประเทศรายวัน เฉลี่ย 7 วัน พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 11,450 คน ในประเทศ 11,259 คน ต่างประเทศ 191 คน เมื่อเทียบจากเมื่อวันที่13 ส.ค.64 ซึ่งเป็นวันที่พบผู้ติดเชื้อสูงกว่าสองหมื่นคน มีคนรักษาตัวกว่าสองแสนคน วันนี้มียอดรวมรักษาประมาณกว่า1แสนคน น้อยกว่าปีที่แล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งตัวเลขนี้สามารถใช้ติดตามสถานการณ์และระบบการรักษาทางการแพทย์ได้



         จังหวัดที่พบว่ายังมีความเสี่ยงสูง รายงานการติดเชื้อต่อเนื่อง พบคลัสเตอร์ ขอให้คนที่อยู่ในจังหวัดเหล่านี้ป้องกันตัวเองสูงสุด เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ชลบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น



#เด็กเล็กติดเชื้อเพิ่มขึ้น



CR:ภาพจากกระทรวงสาธารณสุข



 

ข่าวทั้งหมด

X