*บวรศักดิ์ ชี้แจงที่มาส.ว.ทางอ้อม เน้นสร้างระบบการเมืองสมดุล*

05 มีนาคม 2558, 11:58น.


การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ รายงานความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลาไปแล้ว 57 ครั้ง 400 กว่าชั่วโมง  ซึ่งร่างแรกจะต้องทำให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอต่อ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ จากนั้นเดือน พ.ค. สปช. ,คณะรัฐมนตรี(ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติม กมธ.ยกร่างฯจะนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อพิจารณาเป็นร่างสุดท้าย แล้วเสนอต่อที่ประชุมสปช.อีกครั้งภายในวันที่ 23 ก.ค. เพื่อให้สปช.ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ภายในวันที่ 6 ส.ค.  ทั้งนี้การพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อสื่อมวลชน ยกเว้นการพิจารณาเป็นการภายใน และมีการรับฟังความคิดเห็นจากหลายหน่วยงานก่อนพิจารณาลงไปในเนื้อหาแต่ละมาตรา ถ้ามีความเห็นต่างก็จะพิจารณาหลักการก่อน ประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ส่วนการเลือก ส.ว.กมธ.ยกร่างฯาไม่ต้องการให้ ส.ว.เป็นกระจกส่อง ส.ส.อีก เพราะในปี 2549 มี ส.ว. 200 คนพบว่ามี47 คนเป็นเครือญาติของส.ส. ทำให้เกิดการแบ่งพื้นที่กันเรียบร้อย ดังนั้นจึงต้องทำให้ส.ว.เป็นพหุนิยมของพลเมืองที่หลากหลายอาชีพ เพื่อถ่วงดุลกับส.ส. ดังนั้นส.ว.จึงต้องมาโดยระบบเลือกตั้งทางอ้อม และส.ว.จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้งนั้นสำคัญน้อยกว่าบทบาทหน้าที่  สำหรับการเลือกตั้งส.ส.นั้นระบบเลือกตั้งเดิมทำให้พรรคการเมืองใหญ่ได้คะแนนนิยมเกินกว่าที่ประชาชนให้จริง  จึงสร้างสมดุลในความนิยม โดยใช้ระบบสัดส่วนผสมกับเขต ซึ่งวัดคะแนนได้จากทั่วประเทศ จึงต้องกำหนด ส.ส. 470 ที่นั่งทำให้เกิดรัฐบาลผสม เกิดความสมดุลของพรรคการเมือง

ข่าวทั้งหมด

X