ในช่วงที่ทั่วโลกเผชิญการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้แผนการลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย ทำได้ช้าลง รายงาน World malaria report ขององค์การอนามัยโลก(WHO) เปิดเผยรายละเอียด
-เมื่อปี 2563 คาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียประมาณ 241 ล้านคน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปี 62 จำนวน 14 ล้านคน
-ผู้เสียชีวิตรวม 627,000 ราย
-2 ใน 3 ของจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น หรือประมาณ 47,000 ราย เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำให้การป้องกันโรคมาลาเรีย การตรวจ และการรักษาไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
-องค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรียในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ภูมิภาคดังกล่าวเป็นแหล่งพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นอัตราส่วน 95% และ 96% ของจำนวนทั่วโลก
-80% ของผู้เสียชีวิตในภูมิภาคนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
นพ.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ WHO ขอบคุณองค์กรด้านสาธารณสุขที่ทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาลาเรียในช่วงที่ต้องต่อสู้อย่างหนักจากโควิด-19
-องค์การอนามัยโลก ตั้งเป้าหมายให้ทั่วโลกลดจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตให้ได้ 90% ภายในปี 2573 เป้าหมายนี้จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้เครื่องมือและแนวทางใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับในส่วนประเทศไทย มีการจัดทำยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อ 26 เมษายน 2559 พร้อมกำหนดเป้าหมายร่วมกำจัดเชื้อมาลาเรียรุนแรงให้หมดไปภายในปี 2566 จากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้ ผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย จำนวนลดลงจาก 150,000 คน เมื่อปี 2543 เหลือ 3,939 คน ในปี 2563 เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน
#องค์การอนามัยโลก
#มาลาเรีย
CR:ภาพจากสำนักงานหลักประกันสังคมแห่งชาติ