ของแพง!คนกรุง ปรับพฤติกรรม เลือกใช้ของจำเป็น ร้องรัฐคุมราคา-ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ

19 มกราคม 2565, 08:19น.


          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังคงมองว่าปัญหาค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นอาจจะลากยาวมากกว่า 1 ปี



-ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ วางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยจะเลือกใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน รวมถึงลดกิจกรรมสังสรรค์ ซื้อสินค้าในช่วงจัดโปรโมชั่น รวมถึงการเปลี่ยนไปบริโภคเนื้อสัตว์หรืออาหารที่มีราคาถูกลง



-ธุรกิจที่คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบหนักน่าจะเป็นกลุ่มสินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า) รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์  ยิ่งจะกดดันการฟื้นตัวของธุรกิจดังกล่าวในระยะถัดไป



-คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ



-ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก คือ



*ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในหลายประเภทมากขึ้น เช่น ราคาอาหารสดประเภทอื่นๆ เช่น อาหารทะเล ของใช้ในชีวิตประจำวัน และราคาพลังงาน



*เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ



*ขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) ที่สิ้นสุดลงตั้งแต่ ก.ย 64



          อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของผู้บริโภคบ้างแล้ว เช่น



-มาตรการตรึงราคาสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาแก๊สหุงต้ม ราคาเนื้อไก่ โครงการหมูธงฟ้า เป็นต้น



#ของแพง



CR:ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวทั้งหมด

X