คณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลก(WHO) (TAG-Co-VAC)เปิดเผยว่า การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ หรือวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มต่อๆไปเพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนไข้ให้สูงขึ้นโดยต่อเนื่อง อาจจะไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องหรือ และใช้ได้ผลในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ๆในระยะยาว พร้อมเสนอแนะให้นักวิจัยของบริษัทวัคซีนทั่วโลกเริ่มลงมือวิจัยวัคซีนใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงวัคซีนเดิม ให้มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ไวรัสโอไมครอน ซึ่งระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ก่อนๆ โดยขณะนี้พบโอไมครอนระบาดแล้วใน 149 ประเทศทั่วโลก
คณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของ WHO เพิ่มเติมว่า วัคซีนใหม่ที่จะพัฒนาขึ้นมา ควรจะเป็นวัคซีนที่มีสรรพคุณ เช่น ยาแรง ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ออกฤทธิ์ได้นานซึ่งจะลดความจำเป็นในการรับวัคซีนบูสเตอร์ซ้ำๆ
แต่สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนขณะนี้ ของการกระจายวัคซีนในปัจจุบันว่า ทั่วโลกควรกระจายวัคซีนโครงการหลักคือ วัคซีนสองเข็มแรกให้กระจายทั่วโลกเสียก่อน ทั้งไม่เห็นด้วยที่หลายประเทศเริ่มโครงการวัคซีคบูสเตอร์หรือวัคซีนเข็มที่สาม เพื่อป้องกันไวรัสโอไมครอน ในขณะที่ประชาชนจำนวนในประเทศที่มีฐานะยากจนอีกหลายประเทศยังรอวัคซีนเข็มแรก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์เป็นไวรัสใหม่ที่อันตรายมากกว่าเดิมด้วย
ข้อมูลจาก WHO ชี้ว่า กว่าร้อยละ 67 ของประชากรในประเทศที่มีรายได้สูงรับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็ม ขณะที่ต่ำกว่าร้อยละ 11 ของประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริการับวัคซีนเข็มแรก
WHO อนุมัติให้ใช้วัคซีน 8 ตัวในการป้องกันโรคโควิด-19 ทั่วโลก เช่น วัคซีนไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทคจากสหรัฐฯ-เยอรมนี,แอสตร้าเซนเนก้าจากอังกฤษ-สวีเดน,โมเดอร์นาจากสหรัฐฯ,โนวาแว็กซ์จากสหรัฐฯ,จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันจากสหรัฐฯและวัคซีนโคโวแว็กซ์จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย,วัคซีนโควิชีลด์จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนโควาซินจากบริษัทภารัต ไบโอเท็คของอินเดีย และปัจจุบัน ยังมีวัคซีน 331 ตัวอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาทั่วโลก
#WHO
#วัคซีนต้านโควิด