นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชี้แจงเรื่องการนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบการรักษา
-จากการตรวจวินิจฉัย พบว่า ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ อีกครึ่งหนึ่งมีอาการ มีไข้ไม่เยอะ นอกจากการตรวจไข้ ต้องมีการซักถามเพิ่มด้วย จากการวินิจฉัยพบว่า 7 ใน 10 ราย มีอาการปอดอักเสบ
-การรักษาอาการผู้ป่วยติดเชื้อ กรณีที่ตรวจ ATK ด้วยตัวเอง และเมื่อพบว่า ติดเชื้อ ให้โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ ยืนยันว่า หลังที่แจ้งแล้วจะมีทีมเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง หากไม่มีอาการ หรือ มีอาการไม่มากจะเน้นการรักษาอาการที่บ้าน Home Isolation และมีการประเมินอาการจากทีมแพทย์ หากไม่สะดวก จะให้ไปรักษาอาการที่ศูนย์พักคอย หรือหากมีอาการหนักขึ้น ทีมแพทย์จะประเมินด้วยการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ใช้เวลาในการรักษาตัว 10 วัน ทั้งคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือ คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ในตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องขยายโรงพยาบาลสนาม เพื่อให้บุคลากรดูคนไข้หลักได้ตามความจำเป็น และขอให้พื้นที่พิจารณาในแต่ละพื้นที่ของตัวเอง ในเบื้องต้น เมื่อประเมินแล้วไม่มีอาการ หมอยังไม่ไห้ยา เริ่มมีอาการ จะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่เกิน 3-4 วันจะให้ผลดี
-การรักษาอาการผู้ป่วยติดเชื้อ กรณีที่ผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล หรือ ตรวจจากหน่วยเชิงรุก ให้หน่วยเหล่านั้นประเมินอาการ โดยไม่ต้องแจ้ง 1330 อีก
-กรณีที่จะมีการส่งต่อเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
*มีไข้เกิน 39 องศา นานกว่า 24 ชั่วโมง
*หายใจเร็ว 25นาทีต่อครั้ง(กรณีผู้ใหญ่)
*ออกซิเจนน้อยกว่า 94%
*ในเด็ก ขอให้ช่วยสังเกตอาการ หายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนม ทานอาหารน้อยลง อาการที่ขอให้สังเกต คือ ท้องเสีย ถ่ายเหลว พบ 20-30% มีการคาดการณ์ว่า ในการระบาดระลอกนี้จะมีเด็ก 5-11 ปี ป่วยมากขึ้น จึงมีการเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ พร้อมทั้งจัดผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับสถาบันเด็ก กรมการแพทย์ ที่จะดูแลให้คำปรึกษา ประสานเตรียมจัดเวชภัณฑ์ ขอให้เตรียมCI อย่างน้อย โซนละ1แห่ง ขอความร่วมมือสถานพยาบาล ถ้ามีผู้ป่วยเด็กช่วยรับไว้ก่อน อย่าให้ผู้ป่วยตระเวนหาโรงพยาบาลเอง ส่วนผู้ป่วยอายุต่ำกว่า1 ขวบ ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลทุกคน ขอให้ประเมินอาการทุกคน เนื่องจาก มีอาการซ่อนอยู่ หมอเด็กช่วยดู รับเป็นที่ปรึกษา ขึ้นอยู่กับการประเมินอาการแรกรับ
นพ.จเด็จ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ข้อมูลจากทุกระบบ รายงานว่ามีประชาชนโทรเข้ามา 8,000 ราย จะทดลองระบบว่าเมื่อมีคนโทรเข้ามาวันละสองหมื่นคน ระบบจะรองรับได้หรือไม่ ซึ่ง สปสช.จะดูแลงบประมาณทั้งหมดในการรักษา
ส่วนเรื่องเตียงทั่วประเทศมีทั้งหมด 178,139 เตียง เดือน ม.ค.65 ใช้มากขึ้น แต่มีข่าวดี เตียงระดับสีเหลือง สีแดง การครองเตียงลดลง ไปครองเตียงสีเขียวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องมีเตียงสีเขียวเตรียมไว้ เนื่องจาก เด็กอายุต่ำกว่า1ขวบ และผู้ป่วยสูงอายุ 80-90 ปี อาการเปลี่ยนเร็ว ขอแอดมิดก่อน เพื่อให้สบายใจ ให้แพทย์ดูเป็นรายๆไป อยากขอร้องคนที่มีสุขภาพดี ใช้นโยบาย HI เตรียมเตียงไว้ให้เพียงพอรับคนที่มีอาการหนัก
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน มีการเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการเพิ่มมากขึ้น มาตรการที่มีอยู่ถ้าได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายช่วยกันและเคร่งครัดจะช่วยควบคุมโรคได้ กระทรวงสาธารณสุขพยายามกดการติดเชื้อให้ลดลง คาดว่า ปีนี้เข้าสู่โรคประจำถิ่น
-มาตรการทางสาธารณสุข แนวทางการชะลอการระบาด เพิ่มการฉีดวัคซีน ย้ำประสิทธิภาพของวัคซีน เร่งตรวจ ATK ที่บ้าน ในการระบาดระลอกนี้จะเน้นการตรวจ ATK ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด
-มาตรการทางการแพทย์ เนื่องจาก โรคไม่ได้รุนแรง จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เมื่อติดเชื้อต้องดูแลตัวเองที่บ้าน มีระบบสนับสนุน ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้มีความปลอดภัยและเชื่อมั่น เชื่อมกับระบบการบริการ หากมีอาการรุนแร งได้รับการดูแลอย่างทันที
-มาตรการทางสังคม การดูแลตัวเองอย่างเข้มงวดสูงสุด เลี่ยงสถานที่เสี่ยง
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่มีประสิทธภาพดี หากใช้เริ่มต้น ได้ผลดี ขณะนี้มีการเตรียมความพร้อมไว้ในทุกเขตสุขภาพ และสำรองไว้รวมกว่า 100 ล้านเม็ด
#การรักษาผู้ป่วย
#โควิด19