กรมสุขภาพจิต สำรวจกลุ่มเสี่ยง 608 เด็กและเยาวชน ในเดือนพ.ย.64 (จำนวน 604 คน) และเดือนธ.ค.64 (จำนวน 3,272 คน) เรื่องการฉีดวัคซีน
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความลังเลใจในการฉีดวัคซีนเป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ทั้งที่มีวัคซีนในการให้บริการที่อย่างพอเพียงต่อประชากร โดยองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความลังเลเกิดจาก 3 ช. ได้แก่
1.เชื่อมั่นต่อวัคซีน
2.ชะล่าใจประมาทต่อสถานการณ์
3.ช่องทางรับวัคซีน
ผลการสำรวจพบว่า
-ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อวัคซีนมากขึ้น จากร้อยละ 53.8 เป็นร้อยละ 67.36
-ประชาชนเข้าถึงช่องทางการรับวัคซีนมากขึ้น จากร้อยละ 61.61 เป็นร้อยละ 72.31
-ประชาชนรู้สึกชะล่าใจลดลง จากร้อยละ 80.89 เหลือเพียงร้อยละ 59.41 เนื่องจาก เครือข่ายสาธารณสุขและประชาชนทุกคนต้องช่วยกันให้ข้อเท็จจริงแบบเคาะประตูบ้าน และระยะหลังทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพิ่มจุดวัคซีนให้กว้างขวางขึ้น ทำงานเชิงรุกเดินเข้าชุมชนเพื่อฉีดวัคซีน อำนวยความสะดวกในกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษและเรื่องการนัดหมาย รวมถึงการเดินหน้ากำหนดแผนงานเชิงรุกอำนวยความสะดวกทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง พระภิกษุ ชุมชนที่เข้าถึงยาก เพื่อสื่อสารและขยายการฉีดวัคซีนให้เต็มที่
จากการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ที่ปฏิเสธการรับวัคซีนในขณะนี้พบว่า
-ประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีความลังเลในเบื้องต้น เนื่องจาก อาจรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกันจำนวนมาก พบว่า กลับมาอยากฉีดวัคซีนมากขึ้นด้วยแรงจูงใจที่เกิดจากครอบครัว ซึ่งมีผลอย่างมาก ทำให้ผู้ลังเลฉีดวัคซีนจำนวนกว่า 2,506 คน กลับมายอมรับการฉีดวัคซีนด้วยความเต็มใจถึงร้อยละ 76.6 และสามารถครบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอนในอนาคต
#กรมอนามัย
#ผลสำรวจการฉีดวัคซีน
CR:กระทรวงสาธารณสุข