กรมวิทย์ฯ แจง โอไมครอนระบาดเร็วกว่าเดลตา พบ 1 ใน 4 ของคนที่เดินทางเข้ามาเป็นโอไมครอน

20 ธันวาคม 2564, 12:41น.


          นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สรุปสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน



-ยอดผู้ป่วยติดเชื้อข้อมูลช่วงบ่ายวานนี้(19ธ.ค.64) พบผู้ป่วยเร็วขึ้น หากเทียบจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว จำนวน 63 คน ยืนยันผลแล้ว 20 คน ทั้งหมดเดินทางมาจากต่างประเทศสอดคล้องกับสถานการณ์ในต่างประเทศที่พบการติดเชื้อเป็นวงกว้าง ต่างจากคลัสเตอร์ที่เคยพบจากสถานบันเทิงหรือแคมป์คนงานหลักสี่ที่พบสายพันธุ์เดลตา ยังไม่พบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในประเทศไทย



-สัดส่วนของผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ พบการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 1ใน 4 คือ 25% แพร่กระจายเร็วกว่าเดลตา 8.5 สุดท้ายเบียดเดลตาได้





-กรณีที่น่าสนใจ พบว่ามีคนเดินทางเข้ามา 1 คน ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ก่อนบิน 72ชม. เป็นลบ และเมื่อมาถึงไทยตรวจ RT-PCR อีกครั้ง พบผลเป็นลบ  สามารถเดินทางได้ หลังจากนั้น อีกสองสามวัน พบว่ามีอาการติดเชื้อเป็นบวก ส่งสายพันธุ์ตรวจพบว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอน จากกรณีนี้มีความเป็นไปได้ที่ยังอยู่ในระยะฟักตัว ยังตรวจหาเชื้อไม่เจอ (Window Period) ต้องชั่งน้ำหนักแล้วว่าถ้าเราไม่กักตัวและถ้าเชื้อหลุดไปจะแย่ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีอาการ



-การตรวจจับสายพันธุ์ ยังทำได้ตามปกติทั้งแบบเบื้องต้นและแบบยืนยัน 



- การติดเชื้อโอไมครอนพบใน 89 ประเทศ และ36 รัฐในสหรัฐฯ คาดว่าจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น พบ 3 สายพันธุ์ย่อย BA.1 ในภาพรวมเป็นสายพันธุ์นี้ 6,000 กว่าราย ส่วนBA.2 18 คน ส่วนBA.3 จำนวน 5 คน ยืนยัน สูตรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจเบื้องต้นใน 5ตำแหน่งวินิจฉัยได้ว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอน ขอให้ประชาชนมั่นใจ





-ความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ยังมีข้อมูลจำกัด   



-องค์การอนามัยโลก (WHO) พูดชัดเจนเรื่องประสิทธิผลของวัคซีนลดลง การฉีดวัคซีนบูสเตอร์  สามารถเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนได้ชัดเจนขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของไทย ทั้งวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ ไฟเซอร์





          อย่างไรก็ตาม  เมื่อสัดส่วนผู้ติดเชื้อที่เดินทางเข้าประเทศในรูปแบบ Test&Go เพิ่มขึ้น 2เท่า เทียบระหว่างเดือนพ.ย.และเดือนธ.ค.64 รวมทั้งตรวจสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้น  กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อเสนอต่อศปก.ศบค. พิจารณาชะลอการเดินทางเข้าประเทศในรูปแบบ Test&Go สำหรับผู้เดินทางมาจากทุกประเทศ และพิจารณาปรับใช้มาตรการการกักตัวในรูปแบบ AQ หรือ Sandbox นาน 7-10 วันแทน



 



#โควิดโอไมครอน  



 

ข่าวทั้งหมด

X