กรมชลฯ บริหารจัดการคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่กระทบการเพาะปลูก เตือนภาคใต้ รับมือฝนตกหนักด้วย

13 ธันวาคม 2564, 12:59น.


          ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน แถลงสถานการณ์ฝนและน้ำในพื้นที่ต่างๆ ในส่วนพื้นที่ภาคใต้ สั่งการให้กรมชลประทานที่ 14-17 เตรียมพร้อมรับมือฝน ในช่วงวันที่ 15-20 ธ.ค.ติดตามฝนในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่ตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นราธิวาส ส่วนวันที่ 21-22 ธ.ค.ฝนจะไล่ขึ้นมาที่จ.ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนฝนตกหนัก น้ำท่วมในพื้นที่ก่อนหน้านี้ ยังคงเหลือพื้นที่ที่น้ำท่วมอยู่ 2 จังหวัด คือ จ.สุราษฎร์ธานี 2 อำเภอ ส่วนมากอยู่ริมแม่น้ำตาปี จ.นครศรีธรรมราช  5 อำเภอ ริมแม่น้ำปากพนัง ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลน้ำขึ้น น้ำลงมีอิทธิพลและเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำด้วย



         ส่วนสถานการณ์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี พื้นที่ต่ำสุด ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 7เซนติเมตร ไม่เกินสัปดาห์นี้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ      



         การบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง สถานการณ์น้ำในเขื่อนทั้งหมดทั้งขนาดใหญ่ 35 แห่ง  ขนาดกลาง 412 แห่ง ปัจจุบันมีน้ำ 57% หรือประมาณ 58,800 ล้านลูกบาศก์เมตร  เมื่อเทียบกับปีที่แล้วมีมากกว่า 10,900 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยประมาณ ทุกภูมิภาคมีน้ำมากกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ สถานการณ์น้ำใน 4เขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยาจำนวน 7,948 ล้านลูกบาศก์เมตร  มากว่าปีที่แล้ว 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร  



          กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 22 จังหวัด เพื่อเพาะปลูกข้าว เกษตรกรมีความลำบากจากสถานการณ์โควิด-19และอุทกภัย จึงต้องมีการทำแผนคาดการณ์พื้นที่ปลูกข้าว 2.8 ล้านไร่ ได้ดำเนินการปลูกไปแล้ว1.2 ล้านไร่  เร็วกว่าแผน 800,000 ไร่ สาเหตุที่เร่งการผลิต เนื่องจาก ดินมีความชื้น  ยังมีน้ำในทุ่ง ที่เก็บกักไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ เช่น ทุ่งเจ้าเจ็ด บางบาล บางกุ่ม บางกุ้ง จำนวน 495 ล้านลูกบาศก์เมตร เอามาใช้ทำข้าวนาปรัง



           การเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ รองอธิบดีกรมชลประทาน รายงานว่า ตามแผน ลำดับที่ 1 สั่งการให้เก็บน้ำในทุ่ง 90 กว่าล้านลูกบาศก์เมตรให้เกษตรกรไว้ใช้กอน ลำดับที่ 2 หากน้ำในทุ่งไม่เพียงพอ ให้ใช้น้ำที่เก็บกักในคลองระบาย แก้มลิง ส่วนการเก็บกักน้ำในลำดับที่ 3 ที่สามารถเอามาใช้ได้หากแก้มลิงน้ำไม่พอ คือ การนำน้ำจากเขื่อนมาใช้ จะเห็นได้ว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาณการใช้น้ำ 4,500 ลูกบาศก์เมตร มากกว่าเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีการใช้งาน 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร  



          นอกจากนี้ ยังมีการจัดการวางแผนว่า ถ้าในพื้นที่สำนักชลประทานที่ 3 ลุ่มน้ำน่านตอนบน ใช้น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย ส่วนเจ้าพระยาตอนล่าง ใช้น้ำจากเขื่อนภูมิพล ส่วนเขื่อนป่าสัก สำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เนื่องจาก ในช่วงเดือน กพ.-เม.ย. 65 เมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ต้องบริหารจัดการน้ำในเรื่องความเค็มของน้ำด้วย  โดยใช้น้ำจากสองแหล่ง คือเขื่อนศรีนครินทร์เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีน้ำในปริมาณที่มาก รวม 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  เป็นการนำน้ำมาเสริมทัพ ผ่านคลองจระเข้สามพัน คลองสองพี่น้อง ท่าจีน พระยาบันลือ  



          สำนักงานบริหารจัดการน้ำได้ติดตามคุณภาพน้ำในลุ่มเจ้าพระยา ที่จะมีค่าความเค็มด้วย การประปานครหลวง เตรียมมาตรการรองรับ และเราต้องเฝ้าระวังด้วย ด้วยการให้ชลประทานในลุ่มเจ้าพระยา ไปสำรวจแหล่งน้ำใช้สำรองแผนสอง เวลาประชาชนเดือดร้อน            นอกจากน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีน้ำแม่น้ำแม่กลอง อ.ดำเนินสะดวก แม่น้ำท่าจีน ควบคุมความเค็มไม่ให้เกิน 0.75 กรัมต่อลิตร เนื่องจาก ปลูกกล้วยไม้ แม่น้ำบางประกง โครงการห้วยโสมงเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ใช้น้ำจืดมาสู้กับน้ำเค็ม ใช้ธรรมชาติคุมธรรมชาติอีกทางด้วย



 



#กรมชลประทาน



#เตือนฝนภาคใต้



#เก็บน้ำในฤดูแล้ง     

ข่าวทั้งหมด

X