หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) มีมติว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายยังไม่ปาราชิก เนื่องจากได้มีการคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับวัดแล้ว ไม่ถือเป็นการขัดต่อพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลงวันที่ 26 เมษายน 2542 โดยยืนตาม คำตัดสินเดิมเมื่อ ปี 2549 พระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เปิดเผยว่า พระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถือเป็นกฎหมาย หากไม่ดำเนินการถือว่าผิดกฎหมาย ดังนั้น มส. จะต้องรับผิดชอบร่วมกันฐานละเมิดจรรยาบรรณพระสังฆาธิการ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย และทำลายศรัทธาไทยที่มีต่อมหาเถรสมาคม ดังนั้นจะเดินทางไปทำบุญที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในพระธรรมวินัยไม่เคยมีการระบุไว้ว่าหากคืนทรัพย์สินแล้วจะต้องพ้นจากการปาราชิก ดังนั้นข้ออ้างว่าคืนทรัพย์สินแล้วจึงฟังไม่ขึ้นนอกจากนี้ พระธัมมชโย ยังกระทำการอันเป็นเหตุให้ปาราชิกซ้ำอีก เช่น การบิดเบือนพระธรรมและคำสอน หรือกรณีการรับเงินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้ต้องหายักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยเจ้าของเงินที่แท้จริงคือประชาชนนั้นไม่ประสงค์จะให้ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการ มส. ได้พิจารณาเจตนาของพระธัมมชโยใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ฝ่าฝืนพระลิขิต หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ยกมติ มส. ปี 2549 มาพิจารณาแล้ว พบว่าพระธัมมชโย ยอมรับและปฏิบัติตามพระลิขิตในการคืนที่ดินทุกประการ2.มีเจตนาฉ้อโกงหรือไม่ ที่ประชุมพิจารณาแล้วว่าพระธัมมชโยทยอยคืนทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่วัดพระธรรมกาย ขณะเดียวกันคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ได้ดำเนินการสอบสวนความผิดของพระธัมมชโย