*กรมชลฯ-ประปาภุมิภาค-ภาคเอกชน ร่วมลงนามผันน้ำอ่างประแสร์ใช้งานในจ.ระยอง*

19 กุมภาพันธ์ 2558, 13:27น.


การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในเขตนิคมอุตสาหกรรมจ.ระยองนาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลฯ จึงได้ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค และบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสท์วอเตอร์ลงนามจัดทำบันทึกข้อตกลงการดำเนินการโครงการสูบผันน้ำจากอ่างประแสร์มายังอ่างคลองใหญ่ จ.ระยองในวันนี้ โครงการนี้จะผันน้ำส่วนเกินไปยังอ่างคลองใหญ่ และเพิ่มความจุอ่างประแสร์ให้มีระดับกักเก็บสูงสุดที่ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งวางแผนก่อสร้างระบบผันน้ำจากลุ่มน้ำวังโตนดมาเติมอ่างประแสร์อีกกว่าปีละ 70 ล้านลูกบาศก์เมตรด้วย  เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภคของประชาชน โดยระบบผันน้ำดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทอีสต์วอเตอร์ ก่อนที่จะส่งมอบให้กรมชลประทานใช้จัดการน้ำเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 โดยการสูบผันน้ำตามข้อตกลงจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ถึงปี 2562



โดยบริษัท อีสต์วอเตอร์ จะได้สิทธิผันน้ำไปขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้ปีละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนการประปาจะได้สิทธิผันน้ำไปขายให้กับประชาชน เพื่ออุปโภคบริโภคปีละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตรเช่นกัน แต่ทั้งสองหน่วยงานต้องจัดทำแผนการใช้น้ำมายังกรมชลฯให้พิจารณาในฐานะผู้ควบคุมทางปกครองก่อน และจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าบำรุงรักษาและจะต้องจัดกิจจกรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดเองด้วย โดยนาย เลิศวิโรจน์ ระบุว่า โครการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนมีความมั่นคงทางทรพยากรน้ำใช้ไปอย่างน้อยอีก 20 ปีแน่นอน





ด้าน นาง รัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค ระบุว่า ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวมีการประสบปัญหาน้ำดิบไม่เพียงพอและมีน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ ทำให้ประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรมขาดแคลนน้ำใช้ ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีแนวโน้มต้องการใช้น้ำมากขึ้นเรื่อยๆ การลงนามในโครงการวันนี้เชื่อว่าจะช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 8 ชุมชน 250,000ครัวเรือน และจะเริ่มมีการผันน้ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ ซี่งจะทำให้การประปาในพื้นที่จ.ระยอง ชลบุรี มีปริมาณน้ำดิบเพียงพอต่อการใช้ของประชาชนแน่นอน



สำหรับ อ่างเก็บน้ำประแสร์มีความจุที่ระดับกักเก็บเพียง 248 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ในแต่ละปีจะมีน้ำไหลลงอ่างกว่าปีละ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ต้องพร่องน้ำส่วนเกินออกไปทุกปี ถือเป็นการเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ ประกอบกับปัจจุบัน จ.ระยองมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนอย่างต่อเนื่องทและน้ำในอ่างเก็บน้ำอีกกว่า 3 แห่งบริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 

ข่าวทั้งหมด

X