ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยถึงการติดตามการเคลื่อนตัวของพายุ 2 ลูก
-พายุโซนร้อน ‘ไลออนร็อก’ อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนแล้ว และหย่อมความกดอากาศต่ำ ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมาก กอนช. ประสานหน่วยงานเฝ้าระวังพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบตลอด 24 ชม.
-พายุโซนร้อน ‘คมปาซุ’ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กอนช. ประเมินและวิเคราะห์ว่า พายุลูกนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย คาดว่า จะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งเวียดนาม ประมาณวันพฤหัสบดีที่ 14 ต.ค.64 และมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเช่นเดียวกับพายุไลออนร็อก
-กอนช. ยังได้ติดตามพายุโซนร้อน ‘น้ำเทิน’ ศูนย์กลางยังอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก กำลังเคลื่อนตัวทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และวกกลับไปทางทิศเหนือ ซึ่งต้องประเมินทิศทางของพายุลูกนี้ต่อไป
-ช่วงระหว่างวันที่ 11-17 ต.ค. 64 คาดว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงตลอดช่วง รวมทั้งในช่วงวันที่ 12-16 ต.ค. 64 คาดว่า ร่องมรสุมจะพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากพายุทั้ง 2 ลูก ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
-ฝนที่ตกในพื้นที่ภาคเหนือ จะส่งผลดีในการเติมน้ำให้แหล่งน้ำ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำไม่มาก คาดว่า ปริมาณฝนจะตกไม่มาก
-ภายหลังวันที่ 18 ต.ค. 64 ปริมาณฝน จะเริ่มลดลงตามลำดับ
#ฝนตกเพิ่มขึ้น
#พายุ2ลูก
CR:สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ