ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อมูลผ่านทางเฟซบุ๊ก เตือนให้ระวังและติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยอธิบายว่า
-ตัวเลขผู้ติดเชื้อเมื่อวานนี้(10 ต.ค.64) 10,817 คน
-การตรวจหาเชื้อมี 2 วิธี
*วิธีมาตรฐาน RT-PCR พบผู้ติดเชื้อ 10,817 คน
*แต่ยังมีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) พบเชื้ออีก10,055 คน รวมแล้วเป็นกว่า 20,000 คน ในจำนวนการตรวจด้วยวิธี ATK พบผลบวก ไม่ได้ตรวจยืนยันด้วย RT-PCR ทุกคน
-จำนวนผู้ติดเชื้อกำลังขาขึ้นอีกครั้งอย่างชัดเจนแล้ว และต้องติดตามตัวเลขในสัปดาห์นี้
-ส่วนผู้ป่วยหนัก (ตัวเลขวันที่ 10 ต.ค.64) จำนวน 2,985 คน ถือว่ายังไม่ลด
-ขณะที่ ยอดการตรวจเชิงรุก ลดลง หากตรวจมากขึ้นในหลายพื้นที่อัตราการติดเชื้อในชุมชนสูงมากกว่าร้อยละ20
-ตอนนี้สิ่งที่เริ่มชัดเจน คือ หลายฝ่ายเริ่มเข้าเกียร์ว่าง มหาดไทย ปกครองท้องถิ่น เริ่มถอยและเหนื่อยล้า ฝ่ายการเมือง ก็เลิกให้ความสำคัญมาเข้าสู่โหมดเตรียมการเลือกตั้ง สาธารณสุขก็ล้า แต่ถอยไม่ได้ หยุดไม่ได้ ประชาชนก็ผ่อนคลายจนเกิดคลัสเตอร์ใหม่ทั้งเล็กและใหญ่
สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ชมรมแพทย์ชนบท รวบรวมข้อมูลตัวเลขสถิติ 7 จังหวัดภาคใต้ คือ พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งชัดเจนว่า กราฟกำลังขึ้น
ภาคใต้ล่างมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นช้าๆมาตั้งแต่ก.ค.64 อัตราการติดเชื้อเป็นแบบทรงๆ แบบขึ้นช้าๆ คือ มีเชื้อระบาดอยู่แล้ว พอผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปจริงๆ คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจากที่ทรงๆ ก็พุ่งขึ้นมาอย่างชัดเจนจนติด top 5
การระดมวัคซีนล้านโดสเข้ามาในพื้นที่ เป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่ก็ต้องเข้าใจว่า กว่าจะได้ผลก็เมื่อครบสองเข็มซึ่งแปลว่าต้องอีกไม่ต่ำกว่า 5-6 สัปดาห์ แล้วระหว่างรอความครอบคลุมของวัคซีน ควรจะมีมาตรการอะไร นี่คือคำถามสำคัญ
-การลดการเคลื่อนที่ของประชาชนในพื้นที่ระบาด
-ลดกิจกรรมเสี่ยง
-ปิดบางหมู่บ้าน บางซอยที่ระบาดหนัก หรือ small focus lockdown คือ มาตรการสำคัญระหว่างรอวัคซีนให้ครอบคลุม
#ชมรมแพทย์ชนบท
#ติดเชื้อโควิดขาขึ้น
#เร่งฉีดวัคซีนคุมเชื้อภาคใต้