การติดตามตัวเลขผู้ป่วยอาการหนัก (ปอดอักเสบ) ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตในประเทศไทย นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า มีแนวโน้มที่ลดลง จะเห็นได้จากกราฟแสดงตัวเลขชัดเจน
-ผู้ป่วยปอดอักเสบ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.64 อยู่ที่ 3,324 คน ล่าสุดวันที่ 8 ต.ค.64 ลดลงมาอยู่ที่ 3,003 คน
-ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.64 อยู่ที่ 724 คน ล่าสุดวันที่ 8 ต.ค.64 ลดลงมาอยู่ที่ 682 คน
-ผู้ป่วยเสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 ก.ย.64 อยู่ที่ 125 ราย ล่าสุดวันที่ 8 ต.ค.64 ลดลงมาอยู่ที่ 116 ราย
การติดเชื้อรายใหม่ในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มจังหวัดในภาคใต้ ยังมีตัวเลขการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
-จังหวัดชายแดนใต้ ติดเชื้อ 2,315 คน คิดเป็นร้อยละ 21
-กรุงเทพฯและปริมณฑล ติดเชื้อ 2,414 คน คิดเป็นร้อยละ 22
-ต่างจังหวัด 67 จังหวัด ติดเชื้อ 6,323 คน คิดเป็นร้อยละ 57
ส่วน 10 อันดับ จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด จะเห็นได้ว่า 5 จังหวัด ใน 10 จังหวัดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้
-จ.ยะลา อันดับที่ 2 มีผู้ติดเชื้อวันนี้ 776 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 27,981 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-จ.นราธิวาส อันดับที่ 4 มีผู้ติดเชื้อวันนี้ 592 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 27,491 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-จ.ปัตตานี อันดับที่ 6 มีผู้ติดเชื้อวันนี้ 503 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 24,576 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-จ.สงขลา อันดับที่ 7 มีผู้ติดเชื้อวันนี้ 444 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 33,799 คน มีแนวโน้มลดลง
-จ.นครศรีธรรมราช อันดับที่ 8 มีผู้ติดเชื้อวันนี้ 395 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 18,430 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
การเดินทางทางเครื่องบิน ที่ประชุม ศปก.ศบค.เห็นชอบปรับมาตรการตามความสามารถของท่าอากาศยาน คนที่สามารถจะเดินทางได้ ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือถ้ายังฉีดไม่ครบ ต้องมีใบการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อาจจะเป็นการตรวจด้วยวิธี RT-PCR หรือ ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ก่อนเดินทาง 72 ชม. นพ.เฉวตสรร ขอให้ประชาชนเตรียมตัวให้พร้อม เพราะถ้าหากมีไข้ ควรงดเดินทาง และถ้าตรวจพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ ไม่อนญาตให้เข้าใช้พื้นที่ ในส่วนต่างๆ บนเครื่องบิน ต้องปฎิบัติตามมาตรการเช่นกัน เช่น การปรับการระบายอากาศ ไม่มีการเสิร์ฟอาหารบนเครื่อง การลำเลียงคนไปขึ้นเครื่อง ต้องจัดระเบียบ มีการเว้นระยะห่าง
#ผู้ป่วยอาการหนักลดลง
#ภาคใต้ติดเชื้อสูง
CR:ศูนย์ข้อมูล COVID-19