ต้นตอโรคโควิด-19! นักวิจัยกัมพูชาเริ่มศึกษาข้อมูลค้างคาว

20 กันยายน 2564, 13:41น.


         นางทัฟรี โฮเอ็ม(Thavry Hoem) หัวหน้าทีมวิจัยภาคสนามของสถาบันปาสเตอร์ กัมพูชา(IPC)ซึ่งมีสำนักงานในกรุงพนมเปญ กัมพูชา เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัย 8 คนจากสถาบัน IPC เริ่มต้นรวบรวมตัวอย่างค้างคาวในจังหวัดสตึงเตรง(Stung Treng)ทางภาคเหนือของกัมพูชา ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศลาว เพื่อทำความเข้าใจเรื่องต้นตอของโรคโควิด-19 หวังว่าผลการวิจัยเรื่องนี้จะช่วยให้คนทั่วโลกเข้าใจเรื่องเชื้อไวรัสโควิด-19 มากขึ้น



         ก่อนหน้านี้ นักวิจัยของกัมพูชาพบเชื้อไวรัสในลักษณะคล้ายกันระบาดในค้างคาวในท้องที่นั้น เมื่อสิบปีก่อน และเก็บตัวอย่างค้างคาวเกือกม้า(horseshoe bat) 2 ตัวไว้ช่องแช่เย็นของสถาบัน IPC จากการศึกษาเกี่ยวกับตัวอย่างค้างคาวนั้นเมื่อปีที่แล้วบ่งชี้ว่า มีเชื้อไวรัสใกล้เคียงกับไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของคนกว่า 4.6 ล้านรายทั่วโลก



         นางเวียสนา ดวง นักวิจัยจากสถาบันเดียวกัน ระบุว่า มนุษย์ต้องรับผิดชอบสำหรับการเกิดโรคระบาดใหม่ เช่น โรคโควิด-19 เนื่องจากมนุษย์ทำลายระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติเช่น ตัดไม้ทำลายป่า กระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์ป่า เตือนว่า ในปัจจุบัน ถ้าคนเข้าไปใกล้สัตว์ป่า มีโอกาสสูงกว่าเมื่อก่อนที่คนจะติดเชื้อไวรัสจากสัตว์



         ด้านนางจูเลีย กิลโบด์ นักวิจัยประจำสำนักงานไวรัสวิทยาของ IPC ระบุว่านักวิจัยจะศึกษาในประเด็นว่าการค้าขายสัตว์ป่าจะมีผลไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสด้วยหรือไม่ ที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกพบว่าเชื้อไวรัสจากค้างคาวร้ายแรงถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต เช่น โรคอีโบลา(Ebola)โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน(SARS)และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง(MERS)



...



#กัมพูชา



#ต้นตอโควิด19ในค้างคาว

ข่าวทั้งหมด

X