นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงถึงการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ มิว หรือ B.1.621 ว่าในภาพรวมยังไม่น่าวิตก แต่ต้องตามดู หลังจากที่องค์การอนามัยโลก(WHO) จัดอยู่ในสายพันธุ์ที่น่าสนใจ เนื่องจาก อาจจะมีการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่ง จะมีการพิจารณาว่าดื้อต่อวัคซีนหรือไม่ และแพร่ระบาด ติดเชื้อได้เร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ยังมีข้อมูลไม่มากนักและยังไม่สามารถระบุชี้ชัดได้
สายพันธุ์ มิว พบครั้งแรกที่โคลอมเบีย จากการตรวจพบกว่า 900 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 40 ของคนที่ติดเชื้อในประเทศ ทำให้ประเทศโคลอมเบียมีการตรวจหาสายพันธุ์เพื่อเฝ้าระวังและติดตาม ส่วนในสหรัฐฯ พบกว่า 2,000 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 30 นอกจากนั้น พบสายพันธุ์ดังกล่าวในเม็กซิโก สเปน ญี่ปุ่น ยังไม่พบการติดเชื้อในกลุ่มอาเซียน
ส่วนการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ C.1.2 WHO จัดชั้นให้อยู่ในสายพันธุ์ที่น่าสนใจ เนื่องจาก พบว่าจะมีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง แต่ยังไม่ต้องตระหนก พบการติดเชื้อร้อยละ 3 ในแอฟริกาใต้เท่านั้น
ในส่วนของไทย ยังไม่พบการติดเชื้อทั้งสองสายพันธุ์ แต่เราเฝ้าระวังมีการตรวจหาสายพันธุ์เพิ่มทั้งการตรวจในแบบ RT-PCR และการตรวจทั้งตัวสายพันธุ์
-กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และจำนวนมากขึ้น : จากเดิมเคยกำหนดว่าจะสุ่มตรวจกลุ่มคนที่มาจากต่างประเทศ ตามแนวชายแดน คนที่มีอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้เสียชีวิต บุคลากรทางการแพทย์
-ขยายการสุ่มตรวจให้ครอบคลุม และเน้นกลุ่มการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ เพื่อให้การตรวจเป็นข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่าเป็นภาพรวมของสายพันธุ์ในประเทศ
-หารือกับผู้เชี่ยวชาญ และ ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการตรวจให้มากขึ้นเป็นหมื่นตัวอย่าง เพื่อให้เพียงพอ เช่น ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงเดือนธ.ค.64 จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สุ่มตรวจในพื้นที่ จ. ภูเก็ต มากขึ้น
#โควิดกลายพันธุ์
#กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์