1 ในตัวอย่าง การควบคุมการติดเชื้อโควิด-19 แบบคลัสเตอร์ในโรงงานที่ใช้มาตรการ Bubble & Seal ควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานให้อยู่ในวงจำกัดให้เร็วที่สุดและเฝ้าระวังเข้มงวดป้องกันเชื้อแพร่ระบาดสู่ชุมชน
-โรงงานแปรรูปไก่สดย่าน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ควบคุมการติดเชื้อ
-พนักงานยืนยันติดเชื้อโควิด 1,055 คน มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 10
-การติดเชื้อเกิดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 14 วัน
-ให้ผู้ประกอบการใช้มาตรการ Bubble & Seal เป็นเวลา 28 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค. 64 -23 ก.ย. 64
นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.นครราชสีมา กล่าวว่า มาตรการการป้องกันควบคุมโรคในโรงงาน 3 มาตรการ
1. มาตรการชะลอไม่ให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกินกำลังที่จะกระจายเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาล โดยดำเนินการทำ Bubble & Seal ทั้งในโรงงาน ที่พักของพนักงานทั้งภายในและภายนอกโรงงาน จนถึงการจัดรถรับส่งพนักงาน (Sealed Route) จากที่พักภายนอกเพื่อควบคุมระหว่างการเดินทางไป-กลับของพนักงานอย่างเข้มงวด ไม่ให้ปะปนกับคนอื่น ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อสู่ชุมชน
2. มาตรการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ชุมชน จัดระบบเฝ้าระวังแบบเข้มงวด ตรวจหาเชื้อทุก 7 วัน
3. มาตรการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในโรงงาน และที่พักพนักงานทุกคน โดยในวันที่ 31 ส.ค.- 1 ก.ย.64 ขยาย ผลเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในกลุ่มพนักงานเพิ่มเติมบริเวณที่พักของพนักงาน ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตั้งเป้าหมาย 50 คน
CR:สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
#กรมควบคุมโรค
#มาตรการป้องกันควบคุมโรคในโรงงาน
#คลัสเตอร์โรงงานแปรรูปไก่สด
#นครราชสีมา