กทม.พบเชื้อเดลตากระจาย 52% แรงงานคืนถิ่นเอาเชื้อกลับไปติดที่บ้าน ภาคอีสานมากสุด

06 กรกฎาคม 2564, 14:49น.


          การกระจายของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 หรือ ศบค. เปิดเผยว่า จากข้อมูลระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-2 ก.ค. 64 (สัปดาห์ที่ 26) พบว่า 


1.ภาพรวมทั้งประเทศ ตรวจสอบจาก 2,238 ตัวอย่าง 


-สายพันธุ์อัลฟา ร้อยละ 65.1


-สายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 32.2


-สายพันธุ์เบตา ร้อยละ 2.6


2.กรุงเทพมหานคร ตรวจสอบจาก 936 ตัวอย่าง  


-สายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 52


-สายพันธุ์อัลฟา ร้อยละ 47


3.ภูมิภาค ตรวจสอบจาก 1,302 ตัวอย่าง 


- สายพันธุ์อัลฟา ร้อยละ 77


-สายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 18


-สายพันธุ์เบตา ร้อยละ 4.4


          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในต่างจังหวัดจะเห็นได้ว่าสายพันธุ์เดลตากำลังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการติดเชื้อที่แพร่กระจายได้เร็วขึ้น 


แนวทางของไทยที่ใช้ในการต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ คือ การใส่เครื่องช่วยหายใจให้กับผู้ป่วยให้เร็วขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต แต่เครื่องช่วยหายใจยังไม่พอกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น 




         ส่วนรูปแบบการกระจายเชื้อ กรมควบคุมโรค ได้นำตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 64 มาตรวจสอบ หลังจากการปิดแคมป์แรงงานก่อสร้าง ทำให้แรงงานเดินทางกลับบ้าน พบว่า 


-การกระจายเชื้อไปใน 18 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากที่สุด จำนวน 254 คน 




-การกระจายเชื้อแพร่กระจายในพื้นที่ภาคเหนือ 21 คน รองลงคือ เชื้อกระจายไปในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 


 




          ส่วนลักษณะการติดเชื้อ เป็นการนำเชื้อจากกรุงเทพมหานครไปติดในครอบครัวที่อยู่ในต่างจังหวัด และในชุมชน ทำให้เกิดแนวคิดการกักตัว ‘เถียงนาโมเดล’ เมื่อแรงงานคืนถิ่นให้ไปกักตัวที่เถียงนา เพราะแรงงานยังอยู่ในวัยทำงาน วัยหนุ่มสาว แข็งแรง น่าจะใช้วิธีนี้ได้ 


 
ข่าวทั้งหมด

X