การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นายวิมล จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหการณ์ ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหการณ์ ระบุว่า ในปีนี้ก็มีการบริหารจัดสรรน้ำใน 2แหล่ง คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง โดยได้มีการขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้งดปลูกข้าวนาปรัง เพื่อให้มีน้ำเพียงพอถึง วันที่ 30เม.ย.58 และเพื่อเพียงพอต่อการเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่ โดยจากที่มีการประกาศว่าจะงดส่งน้ำตั้งแต่ วันที่ 1พ.ย.57 ถึงปัจจุบัน ก็สามารถลดการปลูกข้าวนาปรังได้ถึงร้อยละ50 ซึ่งทำให้น้ำเพียงพอต่อการ อุปโภค บริโภาค ไปตลอดฤดูแล้งนี้
ด้านนายจรินทร์ จักกะพาก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ขณะนี้ ได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งไปแล้วใน 8จังหวัด เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี สุโขทัย และจังหวัดนครสวรรค์ รวม 30 อําเภอ 200 ตําบล ซึ่งได้สนับสนุน ทำแก้มลิง ,ขุดบ่อน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กับนายอำเภอเป็นผู้ดำเนินการบูรณาการทำงานในพื้นที่ ซึ่งพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ได้กำชับให้ผู้บริหารท้องถิ่นคอยให้ข้อมูลกับชาวบ้านให้เตรียมรับมือกับภัยแล้ง และให้ความรู้ในการจัดการน้ำ รวมทั้งให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการบริหารจัดการน้ำนำมาใช้
ส่วนพ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลางโหม เปิดเผยว่า ได้กำชับให้หน่วยขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหมให้ปฏิบัติหน้าที่ประสานกับหน่วยราชการในการแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมให้ทหารทุกเหล่าทัพ จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณะภัย ในพื้นที่ตั้งของหน่วย เพื่อคอยช่วยเหลือประชาชน รวมถึงขณะนี้ก็ได้มีการดำเนินโครงการเพื่อเตรียมการรับมือภัยแล้งไปแล้วกว่า 260โครงการ เช่น การสร้างฝาย การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล และการทำถังเก็บน้ำ เพื่อให้ประชาขนมีน้ำสำรองใช้