นายฟร็องซัว ปาลูว์ ผู้อำนวยการสถาบันพันธุกรรมวิทยา มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University Collage London)ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เปิดเผยว่า จากการรวบรวบรวมข้อมูลสาธารณสุขทั่วโลก ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยพบว่า ในปัจจุบัน มีคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) หรือสายพันธุ์ B.1.617.2.1 รวม 200 คนจาก 11 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งสหรัฐฯ(83 คน) อังกฤษ(41 คน) และอินเดีย (40 คน) นอกจากนี้ มีรายงานว่าพบคนไข้สายพันธ์ุนี้ในหลายประเทศ เช่น แคนาดา,ญี่ปุ่น,เนปาล,โปแลนด์,โปรตุเกส,รัสเซีย,สวิตเซอร์แลนด์และตุรกี
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั้งจากองค์การอนามัยโลก จากอินเดียและทั่วโลกอยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อดูว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ระบาดเร็ว หรืออันตรายมากกว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆเช่น สายพันธุ์อัลฟา(Alpha)ที่พบครั้งแรกในอังกฤษหรือสายพันธุ์เดลต้า(Delta) สายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบครั้งแรกในอินเดีย หรือไม่ และสามารถจะหลบเลี่ยงการสร้างภูมิต้านทานของวัคซีนในปัจจุบันหรือไม่ แต่ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่มีผลวิจัยเรื่องต่างๆเหล่านี้อย่างชัดเจน
สำหรับสายพันธุ์เดลต้า พลัส เป็นเชื้อไวรัสซึ่งพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนในอังกฤษ กระทรวงสาธาณสุขอังกฤษรายงานว่าพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลล้าอาจแพร่ระบาดในอังกฤษมาตั้งแต่เดือนมีนาคม
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ระบุว่า เชื้อไวรัสทุกชนิดมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรสักอาจจะทำให้เกิดเชื้อไวรัสใหม่ที่แพร่ระบาดเร็วกว่าเดิม หรือทำให้คนไข้ติดเชื้อไวรัสง่ายกว่าเดิม แต่ในบางครั้งผลจากการกลายพันธุ์ก็ไม่ทำให้เชื้อไวรัสอันตรายกว่าเดิม ทั้งสามารถจะกลายพันธุ์จนกระทั่งทำลายเชื้อไวรัสด้วยกันก็มีเช่นกัน ในปัจจุบันเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งทำให้เกิดโรคโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ จนกระทั่งแยกย่อยเป็นสายพันธุ์ประเภทต่างๆราว 160 สายพันธุ์
Cr: cnn