ใช้แนวทาง Factory Quarantine คุมโควิด-19 ในเรือนจำ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การติดเชื้อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และทัณฑสถานหญิงกลางจำนวน 2,835 คน ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ปิดจึงมั่นใจว่าสามารถดูแลควบคุมโรคได้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประสานงานกับ กรมราชทัณฑ์จะใช้แนวทางควบคุมโรคเช่นเดียวกับกรณีสมุทรสาคร คือ “Factory Quarantine”
-ผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมดอยู่ในสถานที่มิดชิด ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อสู่ภายนอก
-คัดแยกระดับอาการผู้ป่วย ให้ยาตามสีของระดับอาการ
-กลุ่มที่ไม่มีอาการ รักษาประมาณ 14 วัน
-กลุ่มที่มีอาการปานกลาง จะมีโรงพยาบาลราชทัณฑ์ดูแล ซึ่งมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ปี 2563
-กลุ่มที่มีอาการหนักสีเหลืองเข้ม หรือ แดง กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับช่วงนำผู้ต้องขังมารับการรักษาตามสิทธิ
กรมราชทัณฑ์ สร้างห้องแล็บ ให้เสร็จภายใน 5 วัน
นายอายุตม์ สินธพพันธ์ อธิบดีกรม
นอกจากนี้ จะเร่งสร้างห้องแล็บ ซึ่งส่วนนี้ได้รับเงินจากการพระราชทานโครงการปันสุข
นพ.วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กังวลเรื่อง ความไวในการติดเชื้อค่อนข้างสูง การระบาดของสายพันธุ์นี้มีความไว และแสดงอาการช้ามาก ขนาดบางคนเลย 14 วัน จึงแสดงอาการ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่กรม
วันนี้ ตรวจหาเชื้อกลุ่มแรงงานต่างด้าวอิตาเลียนไทยเพิ่มอีก 500 คน
การเร่งควบคุมการติดเชื้อในกลุ่มคนงานก่อสร้างของบริษัทอิตาเลียนไทย ที่ถนนแจ้งวัฒนะ หลังจากตรวจเชิงรุกในพื้นที่ 300 คน พบผู้ติดเชื้อ
สำนักงานเขตหลักสี่ จะปิดพื้นที่นี้จำนวน 7 วัน ขณะที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้ประสานไปที่ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน อำนวยความสะดวกในการตรวจหาเชื้อ
CR:สำนักงานเขตหลักสี่
เขตดินแดง-ดุสิต แนวโน้มระบาดมากขึ้น ส่วนคลองเตย ยังเฝ้าระวัง
ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 เป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในพื้นที่ กทม. ตั้งแต่เดือนเม.ย.64 ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพชั้นใน ที่มีคนพักอาศัยอย่างหนาแน่น เช่น ชุมชน ตลาด บริษัท แคมป์คนงาน และห้างร้านต่างๆ ที่มีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีผู้ติดเชื้อจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในวงกว้าง
จากการสอบสวนโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่พบ เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่น การรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมร่วมกัน และมีการติดเชื้อต่อไปยังชุมชน ในบางคลัสเตอร์เกิดจากการติดเชื้อกับคนในครอบครัวและมาสัมผัสกับเพื่อนที่ทำงานที่มีพนักงานเป็นจำนวนมากก็เกิดเป็นคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มขึ้น
รายละเอียดการคัดกรองและแนวโน้มการควบคุมสถานการณ์
-คลัสเตอร์ชุมชนบ่อนไก่ ในเขตปทุมวัน ชุมชนบ้านขิงและห้างสรรพสินค้าในเขตบางแค ชุมชนวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และสำเพ็ง เขตสัมพันธ์วงศ์ มีแนวโน้มการระบาดลดลง
-เขตสัมพันธวงศ์ ผู้ติดเชื้อ 81 คน จากการตรวจเชิงรุก 406 คน แนวโน้มการระบาดลดลง
-เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้ติดเชื้อ 68 คน จากการตรวจเชิงรุก 400 คน แนวโน้มการระบาดลดลง
-เขตปทุมวัน ผู้ติดเชื้อ 131 คน จากการตรวจเชิงรุก 8,872 คน แนวโน้มการระบาดลดลง
-เขตบางแค ผู้ติดเชื้อ 125 คน จากการตรวจเชิงรุก 2,709 คน แนวโน้มการระบาดลดลง
-อีกหลายคลัสเตอร์ที่มีแนวโน้มการแพร่ระบาดสูงขึ้น เช่น ในเขตดินแดง และดุสิต
-เขตดุสิต ผู้ติดเชื้อ 262 คน จากการตรวจเชิงรุก 2,500 คน แนวโน้มการระบาด เร่งตรวจหาเชื้อ
-เขตดินแดง ผู้ติดเชื้อ 266 คน จากการตรวจเชิงรุก 4,994 คน แนวโน้มการระบาด เร่งตรวจหาเชื้อ
-ในบางพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง ในเขตคลองเตย และสวนหลวง
-เขตคลองเตย ผู้ติดเชื้อ 1,146 คน จากการตรวจเชิงรุก 26,779 คน แนวโน้มการระบาด เฝ้าระวังการติดเชื้อ
-เขตสวนหลวง ผู้ติดเชื้อ87 คน จากการตรวจเชิงรุก 457 คน แนวโน้มการระบาดเฝ้าระวังการติดเชื้อ
กทม.เร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก นำผู้ป่วยติดเชื้อเข้ารับการรักษาพยาบาลเร็วที่สุด และเร่งฉีดวัคซีนในชุมชนและสถานที่ต่างๆที่มีผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด
CR:เอิรธ์ พงศกร ขวัญเมือง -Earth Pongsakorn Kwanmuang
วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในไทยบรรจุขวดแล้ว มิ.ย.น่าจะส่งมอบได้
ความคืบหน้าวัคซีนของแอสตราเซเนกาที่ผลิตโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นายอนุทิน กล่าวว่า มีการผลิตบรรจุขวดแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพให้ครบถ้วน คาดหวังว่า จะสามารถส่งมอบได้ก่อนเวลา ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 64 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตามสัญญาจะส่งมอบวัคซีนที่ผลิตจากในประเทศไทย แต่หากเกิดอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นแอสตราเซเนกาต้องหาวัคซีนจากแหล่งผลิตอื่นมาแทน
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังหารือเพื่อสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมในทุกเดือนมาช่วยประคับประคองสถานการณ์อีกทางด้วย แต่ยังไม่สามารถบอกจำนวนได้
รวมถึงยังมีการเจรจากับบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งอยู่ในส่วนสุดท้ายของการจัดทำเอกสารกันแล้ว ถ้าเรียบร้อย ก็เซ็นสัญญาได้ ซึ่งเราขอไป 10,000,000-20,0000,000 โดส เขาบอกว่าอาจส่งได้ในช่วงไตรมาสที่ 3-4
ล่าสุด นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ลงนามในใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน ชื่อยา โมเดอร์นา วัคซีนโควิด-19 โดยจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ เรียบร้อยแล้ว นับเป็นวัคซีนโควิด -19 ตัวที่ 4 ต่อจาก ซิโนแวค แอสตราเซเนกา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
ซิโนแวค 1.5 ล้านโดส รอตรวจสอบคุณภาพ คาดวันจันทร์หน้ากระจายได้
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
ซีดีซี แนะนำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้วไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยในบางสถานที่
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี ออกคำแนะนำว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ครบถ้วนแล้วไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง รวมถึงสถานที่หลายแห่ง และไม่ต้องรักษาระยะห่างในบางสถานการณ์ ซึ่งเป็นการเข้าใกล้สภาวะปกติ ซีดีซีคาดหวังว่าคำแนะนำนี้จะกระตุ้นให้ชาวอเมริกันได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น
ในคำแนะนำระบุว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อเดินทางด้วยเครื่องบินและรถไฟ เมื่ออยู่ในสนามบิน ศูนย์กลางการขนส่ง ระบบขนส่งมวลชนและในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาลและสำนักงานแพทย์ นอกจากนี้ยังไม่ต้องเข้ารับการกักกันเมื่อเดินทางกลับมาจากต่างประเทศและไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หากสัมผัสกับผู้ที่มีผลการตรวจเป็นบวก แต่ไม่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันยังคงเผชิญกับข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศมีคำเตือนเรื่องการเดินทางไปยังหลายประเทศโดยไม่จำเป็น
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ สวมหน้ากากอนามัยในระหว่างการประชุมกับวุฒิสมาชิก แต่เขาถอดหน้ากากอนามัยเมื่อกล่าวแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว โดยกล่าวว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เป็นวันที่ดี หากได้รับวัคซีนครบแล้ว ก็สามารถถอดหน้ากากได้ และทักทายคนอื่นด้วยรอยยิ้ม
ดร.โรเชล วาเลนสกี ผู้อำนวยการซีดีซี กล่าวว่า การออกคำแนะนำใหม่ในครั้งนี้มีขึ้นเพียง 2 สัปดาห์หลังจากขยายโครงการฉีดวัคซีนไปยังกลุ่มวัยรุ่นซึ่งทำให้อัตราการติดเชื้อรายใหม่ลดลง และวัคซีนเหล่านี้มีประสิทธิภาพจริงในการต่อต้านไวรัสโควิดสายพันธุ์ต่างๆและผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วมีโอกาสน้อยลงในการแพร่เชื้อไวรัสต่อไป