พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ร่วมกับ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดหน่วยบริการวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในพื้นที่กทม.และในเดือนมิ.ย.64
กทม.จะได้รับการจัดสรรวัคซีนสำหรับนำไปให้บริการแก่ประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” (herd immunity) โดยมีเป้าหมายฉีดครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรในกทม. หรือประมาณ 5,000,000 คน กทม.กำหนดจัดให้บริการวัคซีนในโรงพยาบาลควบคู่กับการให้บริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล โดยได้รับความร่วมมือจากหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดจุดบริการฉีดวัคซีนในสถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า จำนวน 14 แห่งกระจายทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ
-ส่วนแรกในโรงพยาบาลทุกสังกัดในกรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
-ส่วนที่สองเป็นหน่วยบริการวัคซีนกรุงเทพมหานคร 14 แห่ง สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 59 ปี ที่สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และได้ทำการจองรับวัคซีนมาแล้ว ดังนี้
-กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ SCG บางซื่อ 2,000 คน/วัน และศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว 2,000 คน/วัน
-กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 4 แห่ง ได้แก่ สามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน 1,500 คน/วัน ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค เขตสวนหลวง 1,000 คน/วัน True Digital Park เขตพระโขนง 1,000 คน/วัน และเอเชียทีค เขตบางคอแหลม 2,000 คน/วัน
-กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 3 แห่ง ได้แก่ เดอะมอลล์ บางกะปิ 2,000 คน/วัน โรบินสัน ลาดกระบัง 1,000 คน/วัน และโลตัส มีนบุรี 1,000 คน/วัน
-กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย 1,000 คน/วัน และไอคอนสยาม เขตคลองสาน 1,000 คน/วัน
-กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 3 แห่ง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. พระราม 2 เขตบางขุนเทียน 1,500 คน/วัน เดอะมอลล์ บางแค 2,000 คน/วัน และบิ๊กซี บางบอน 1,500 คน/วัน
รวมให้บริการได้ทั้งสิ้น 20,500 คนต่อวัน ใช้เวลาเฉลี่ยต่อรายประมาณ 45 นาที
กระบวนการให้บริการวัคซีนที่หน่วยมี 5 ขั้นตอน คือ
1. การลงทะเบียน/ชั่งน้ำหนัก/วัดความดัน
2. คัดกรอง/ซักประวัติ
3. ฉีดวัคซีน
4. สังเกตอาการ
5. รับใบนัด/คำแนะนำ
CR:กรุงเทพมหานคร