ประชุมศบค.กำหนดมาตรการ โซนสี เข้มขึ้น
การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โควิด-19 หรือ ศบค.ชุดเล็ก เช้านี้ เพื่อหาข้อสรุปมาตรการต่างๆ หลังจากที่ประชุมเมื่อวานนี้ พิจารณาข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการยกระดับมาตรการให้เข้มข้นมากขึ้น จากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่และตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น เช่น
-การเพิ่มโซนสีจังหวัด คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มข้น หรือสีแดงเข้ม
-พื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือสีแดง
-พื้นที่ควบคุมหรือสีส้ม
เมื่อเพิ่มโซนสีแล้วจะทำให้การออกมาตรการเข้มข้นทำได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
การประชุมช่วงเช้านี้จึงต้องหาข้อสรุป เพื่อนำเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ในเวลา 14.00 น. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธาน ผ่านระบบ VDO Conference ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสรุปผลการออกมาตรการ และข้อกำหนดในกิจการกิจกรรมต่างๆ
‘รองสุพัฒน์พงษ์’ ประสานเอกชน กระจายวัคซีนทีมไทยแลนด์ สิ้นปีฉีดให้ได้ 50 ล้านคน
วันนี้เริ่มการทำงานวันแรก ประสานกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน หลังจากที่ นายกฯ มอบหมายให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน เป็นแม่งานประสานภาคเอกชน และมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นทีมปฏิบัติงานประสานงานในรายละเอียดตั้งแต่วันนี้ 29 เม.ย. 64 เป็นต้นไป รองรับเมื่อวัคซีนมาถึงจะได้ทำงานกันได้อย่างต่อเนื่อง
นายกฯ ได้รับข้อเสนอทั้งหมดจากภาคเอกชน จากการประชุมร่วมกันเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือในการกระจายวัคซีน ผ่านกลไกเอกชนช่วยเสริมในการจัดจุดฉีดวัคซีนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในจังหวัดต่างๆ ซึ่งจังหวัดจะทำงานผ่านกรอ.จังหวัด คือ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด รวมทั้งสาธารณสุขในการเร่งรัดจัดสถานที่และบุคลากรมาช่วยเสริม
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึง เรื่องการกระจายวัคซีนว่าเอกชนได้มีการหารือถึงสถานที่จัดเตรียมไว้สำหรับฉีดวัคซีนแล้ว เช่น ใน กทม.ที่มีหลายแห่ง ส่วนจังหวัดก็มี กรอ.จังหวัด ที่พร้อมรับมือ ส่วนภาคอุตสาหกรรมเองก็เตรียมความพร้อมสถานที่ของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ไว้รองรับด้วย เพื่อให้เกิดการกระจายวัคซีนรวดเร็วมากขึ้น
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้เรียกว่าเป็น “วัคซีนทีมไทยแลนด์” ซึ่งภาคเอกชนมีความพร้อมร่วมมือทำงานกับภาครัฐ เพื่อจะทำให้ได้ตามเป้าหมาย คือสิ้นปีนี้จะต้องฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมคนในประเทศให้ได้ร้อยละ 70 หรือคิดเป็นจำนวน 50 ล้านคน
เร่งนำข้อมูล 16 ล้านคน เข้าระบบ ลงทะเบียนฉีด 1 พ.ค.
นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า เดือน มิ.ย.64 จะมี
สธ.จัดแบ่ง 5 กลุ่ม รับ
นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ
1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 1,200,000 คน
2 บุคลากรด่านหน้า 1,800,000 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะได้รับครบถ้วนภายในเดือนพ.ค.64
3. บุคคลที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค จำนวน 4,300,000 คน คือโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง มะเร็งทุกชนิด เบาหวาน และโรคอ้วน
4. ผู้สูงอายุจำนวน 11.7 ล้านคน โดย 2 กลุ่มนี้รวม 16,000,000 คน ที่จะได้รับ
การจองคิว ให้ประชาชนเพิ่มเพื่อนในไลน์หมอพร้อม ต้องกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลักให้ถูกต้อง จากนั้นทำการจอง
5. คนอายุ 18-55 ปี จะได้ฉีดในเดือนส.ค.-ก.ย.64 โดยเปิดจองในเดือนก.ค. 64 แต่ถ้าช่วงนี้รัฐบาลสามารถ
องค์การเภสัชฯ คาดขึ้นทะเบียน ยาฟาวิพิราเวียร์ ต่อ อย.เดือน มิ.ย.-ก.ค.
การดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรคโควิด-19 ขององค์การเภสัชกรรม ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตยา Favipiravir 200 mg tablet ในระดับอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งยาที่ผลิตได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำไปศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อศึกษาความเท่าเทียมกันในการรักษาเปรียบเทียบกับยาต้นแบบ ซึ่งมีกำหนดจะแล้วเสร็จและสามารถยื่นข้อมูลขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. )ได้ประมาณมิ.ย.-ก.ค.64
สำหรับการผลิตเพื่อจำหน่ายจะสามารถดำเนินการได้ ภายหลังการได้ทะเบียนตำรับยาจาก อย.การผลิตยา Favipiravir ในระยะยาว องค์การฯได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการวิจัยและพัฒนากระบวนการสังเคราะห์วัตถุดิบยา Favipiravir ในระดับห้องปฏิบัติการ และขยายขนาดการผลิตสู่กึ่งระดับอุตสาหกรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ในการสร้างโรงงานสังเคราะห์วัตถุดิบยา Favipiravir และวัตถุดิบยาจำเป็นอื่น ๆ สำหรับการผลิตวัตถุดิบในระดับอุตสาหกรรม