นายกฯ หารือ กกร.เรื่องการกระจายและจัดหาวัคซีน
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธาน
1.การ
2.การ
นายสนั่น กล่าวถึง ความกังวลเรื่องล็อกดาวน์ประเทศว่าจากการประกาศปิด 31 สถานที่ ในพื้นที่ กรุงเทพฯ เช่น ฟิตเนส ร้านเสริมสวย สระว่ายน้ำ สวนสัตว์ และโรงภาพยนตร์ แม้การปิดดังกล่าวจะสร้างผลกระทบ แต่ยังเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ไม่ประกาศล็อกดาวน์ทั้งหมด เพราะทำให้ประชาชนยังสามารถเคลื่อนย้าย และทำธุรกรรมต่างๆ ได้อยู่ หากมีการล็อกดาวน์เหมือนช่วงแรกที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือช่วงต้นปี 63 สร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 600,000 ล้านบาท จึงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมอีก
บริษัทใหญ่ พร้อมช่วยรัฐ เตรียมสถานที่ให้ฉีดวัคซีนวันละกว่าหมื่นคน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดหาสถานที่ในการให้บริการฉัดวัคซีนของหอการค้าฯ เบื้องต้นได้รับความร่วมมือในเรื่องของการจัดหาสถานที่จาก 40 บริษัทขนาดใหญ่ ได้แก่ 1.เอสซีจีบางซื่อ 2.เซ็นทรัลลาดพร้าว 3.ทรู ดิจิทัล ปาร์ค 4.ธัญญาพาร์ค 5.เดอะมอลล์ บางกะปิ 6.โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง 7.เซ็นทรัลปิ่นเกล้า 8.เดอะมอลล์ บางแค และ 9.โลตัส สาขามีนบุรี ซึ่งทั้ง 9 แห่ง สามารถให้บริการได้วันละประมาณ 14,000 คน และจะมีการประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่จากทางหอการค้าฯ อีกครั้ง
ผลตรวจสอบคุณภาพวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดย สยามไบโอไซเอนซ์ ได้มาตรฐาน
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในรูปแบบ viral vector จากบริษัท แอสตราเซเนกา ได้ส่งตัวอย่างวัคซีนโควิด-19 ที่ได้ดำเนินการทดลองผลิตเสมือนจริง เพื่อทดสอบความสม่ำเสมอในการผลิต จำนวน 5 รุ่นการผลิต ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ทำการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า วัคซีนทั้ง 5 รุ่น ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่บริษัท แอสตราเซเนกา (ประเทศไทย) ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนไว้ทุกรายการทดสอบ (full tests) ทั้งการทดสอบความเป็นเอกลักษณ์ ความแรง ความปลอดภัย และการตรวจทางเคมี-ฟิสิกส์ โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของวัคซีนดังกล่าวจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองรุ่นการผลิตวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกา ที่ผลิตโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ต่อไป
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตามที่โรงงานของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้รับการอนุมัติเพิ่มสถานที่ผลิตวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตราเซเนกาในประเทศไทย จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในวันที่ 23 เม.ย.64 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการที่บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จะสามารถผลิตและส่งมอบวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกา ในประเทศไทย ได้ภายในเดือนมิ.ย.64 และสามารถขอการรับรองรุ่นการผลิตกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้โดยตรง ในนามวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตราเซเนกา ที่มีมาตรฐานสากล เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมป้องกันโรคในประเทศ และยังสามารถส่งออกวัคซีนให้กับประเทศในภูมิภาคได้ด้วย
ตม.ภูเก็ต หามาตรการให้ต่างชาติ เข้าใจมาตรการคุมโควิด พบไม่สวมหน้ากาก แอบจัดปาร์ตี้
พ.ต.อ.ธเนศ สุขชัย ผกก.ตม.จว.ภูเก็ต ประชุมรองผกก.-สว. เข้าร่วมประชุมหารือกับจังหวัดภูเก็ตถึงสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้กลุ่มบุคคลต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีกงสุลใหญ่และกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศต่างๆ เข้าร่วมหารือด้วย
พ.ต.อ.ธเนศ กล่าวถึง ปัญหาช่วงที่ผ่านมา พบว่า ชาวต่างชาติไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการสวมหน้ากากอนามัย มีการรวมกลุ่มแอบจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ตลอดจนเมื่อตรวจพบเชื้อโควิด-19 แล้วไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค และไม่เข้ารับการรักษาพยาบาลตามกระบวนการของทางสาธารณสุข จึงต้องประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมโรคที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
การประชุมครั้งนี้เพื่อขอความร่วมมือให้กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สาระสำคัญต่างๆ ไปให้ชาวต่างชาติได้รับทราบและปฏิบัติตามกฎหมายไทย หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางกฎหมาย
ภูเก็ตมีประชากรประมาณ 400,000 คน และมีชาวต่างชาติจาก 21 ประเทศพักอาศัยอยู่ประมาณ 11,000 คน
พณ.เร่งหารือเมียนมา ให้ไทยส่งสินค้าเครื่องดื่มทางเรือแทนทางบก
กรณีเมียนมาเตรียมงดการนำเข้าสินค้าเครื่องดื่มชั่วคราวจากไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์ประจำเมียนมาว่าในวันที่ 1 พ.ค.64 อาจจะมีคำสั่งเรื่องสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่ม ที่เมียนมาอาจระงับไม่ให้นำเข้าผ่านด่านทางบก แต่ให้ส่งออกผ่านด่านทางเรือ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมการค้าต่างประเทศ เร่งดำเนินการเจรจากับอธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาเพื่อถามถึงสาเหตุและหาแนวทางแก้ไข
สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มนั้น ประเทศไทยส่งออกไปยังเมียนมา ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมาทุกอย่างดำเนินการไปได้ด้วยดี ตัวเลขการค้าชายแดนไทยกับเมียนมายังเดินหน้าต่อได้ แต่เรื่องนี้เป็นกรณีเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว เป็นต้น ซึ่งอาจกระทบทำให้ผู้ประกอบการต้องส่งไปทางเรือทำให้มีต้นทุนการขนส่งมากขึ้นแทนที่ไปส่งทางบก ที่ผ่านมาเราส่งผ่านด่านใหญ่ 3 ด่าน คือ 1.แม่สอด 2.แม่สาย 3.ระนอง